หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกปวยเล้ง

ปวยเล้ง (SPINACH) http://www.chiataigroup.com/

ชื่อวิทยาศาตร์ Spinacia oleracea
ตระกูล Chenopodiaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชอายุสั้น ชอบอากาศเย็น – หนาว ใช้ส่วนของใบในการบริโภค ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารดังนี้ vitamin A , ascorbic acid, riboflavin, thiamine, iron และ calcium
ฤดูปลูก ฤดูหนาว (ถ้าพื้นที่สูงกว่า 1,200 เมตร สามารถปลูกได้ตลอดปี)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ดิน สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง PH ของดินควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
อุณหภูมิ ต้องการสภาพอากาศที่เย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15-21 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นที่พอเหมาะ ถ้าได้รับน้ำมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเน่าและเชื้อราเข้าทำลายได้

ปุ๋ย เนื่องจากปวยเล้งเป็นพืชที่ใช้ใบในการบริโภค ปวยเล้งจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนสูง ใส่ปุ๋ยเมื่อมีอายุ 15 วันหลังหยอดเมล็ด โดยการผสมปุ๋ย 46-0-0 กับน้ำ รด แล้วรดน้ำล้างใบ ป้องกันใบไหม้ แล้วควรละลายน้ำรด 3-5 วันต่อครั้ง โดยใช้ยูเรีย 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการปลูกและดูแลรักษา
1. เตรียมดิน ไถดินตากไว้ 1 สัปดาห์ ใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก และปุ๋ย 15-15-15 ไถพรวนดินให้ละเอียด ขึ้นแปลง กว้าง 1 เมตร ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
2. การปลูก ขีดร่องขวางแปลงลึกประมาณ 1 ซม. ห่างกัน 15 ซม. หยอดเมล็ดตามร่องห่างกัน 2-3 ซม. กลบเมล็ดด้วยดินละเอียด รดน้ำด้วยฝักบัว ราดยากันเชื้อราและกันมด
3. การถอนแยก หลังหยอดเมล็ด 15 วัน ถอนแยกต้นให้ห่างกัน 10 ซม.
4. การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อปวยเล้งมีอายุ 35-45 วัน แล้วแต่พันธุ์หรือฤดูกาล โดยถอนต้นพร้อมรากหรือตัดลึกกว่าผิวดินเล็กน้อย ปล่อยให้ต้นอ่อนตัวในที่ร่ม พืชไม่ควรเปียกเมื่อบรรจุ ( ไม่ควรรดน้ำ 24 ชม. ก่อนการเก็บเกี่ยว หรือไม่ควรล้างน้ำก่อนการบรรจุ)
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคและแมลงของปวยเล้งที่สำคัญได้แก่
1. แมลงศัตรูพืช
- หนอนกระทู้ดำ (black cusworm) พบในช่วงฤดูร้อน สังเกตจากลำต้นล้ม เหี่ยว
- เพลี้ยอ่อน พบตลอดปี และพบมากช่วงฤดูร้อน เพลี้ยอ่อนจะอยู่ตามใต้ใบและยอด ทำให้ใบหงิก
- เพลี้ยไฟ พบช่วงฤดูร้อน สังเกตจากใบมีรอยหยาบสีน้ำตาลและหงิก
- หนอนคืบกินใบ พบได้ตลอดปี

2. โรค
-โรคโคนเน่า เกิดจากการทำลายของเชื้อราในดิน สังเกตดูต้นผักจะหักล้มตายเป็นหย่อมๆ บริเวณที่เกิดโคนเน่า
-โรคใบจุด พบในช่วงที่มีอากาศเย็น เกิดจากเชื้อรา Septoria sp. แผลสีน้ำตาลและมีตุ่มเล็กๆสีดำบริเวณแผล
-โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Cercospora sp. อาจพบได้ทุกฤดูกาล ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาล ตรงกลางแผลเป็นสีเทา
ระบาดมากในฤดูฝน
-โรคราน้ำค้าง อาการเป็นแผลสีเหลือง หรือสีน้ำตาลบนใบ ใต้ใบมีสปอร์สีขาวหรือเทา
3. ไส้เดือนฝอย พบได้ทั้งปีในบางพื้นที่ สังเกตุจากต้นแคระแกร็นและมีปมที่ราก

เทคนิคการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 30 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงผักป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน /
น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว
( Downy mildew ) + เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคโคนเน่า หรือ - จะพบมากในช่วงเริ่มแตกกอเป็นต้นไป ใบที่อยู่ล่างๆ จะเหลืองและเหี่ยว ที่โคนต้นจะ
โรคราเมล็ดผักกาด เป็นรอยสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ และจะพบเมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ด
( Sclerotinia rot ) ผักกาดติดอยู่บริเวณโคนต้น หากพบใช้โนมิลดิว 3 ช้อน/ปี๊บ ฉีด หรือใช้สารสกัด
จุลินทรีย์พวกบาซิลัส ซับทิลิส และพวกไตรโคเดอม่า ฉีดพ่นและรดโคนต้น

เคล็ดลับในการปลูก
การเลือกใช้เมล็ดที่มีความงอกดี และเหมาะสมกับพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น