หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักกาดหัว

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Chinese radish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Raphanus sativus var.longipinatus
ตระกูล: Cruciferae
ชื่ออื่นๆ: ไชโป๊ว,ไชเท้า(ทั่วไป),ผักกาดจีน(ลำปาง),ผักเปิ๊กหัว(ภาคเหนือ)
http://www.chiataigroup.com/
ข้อมูลทั่วไป

ผักกาดหัวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายใหญ่ขึ้น เนื้อภายในมีสีขาวน่ารับประทาน บางพันธุ์เนื้อมีสีแดง คุณภาพของรากหรือที่เราเรียกกันว่าหัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ ภูมิอากาศ และการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นต้น ถ้าหากปล่อยให้จนเลยระยะเก็บเกี่ยวแล้วเนื้อจะเริ่มฟ่าม มีเส้นใยแข็ง ปรากฏมากขึ้น และรากจะขยายตัวใหญ่ขึ้น เพราะสะสมอาหารไว้มากขึ้นสำหรับการสร้างดอกและเมล็ดต่อไป นิยมปลูกเพื่อใช้รับประทานสดและดองเค็มหรือที่เรียก “หัวไชโป๊ว” มีลักษณะของรากหรือหัวแตกต่างกันไปตั้งแต่รูปทรงกลม รูปทรงกระบอก รูปกรวยยาวและรูปทรงยาวธรรมดา ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ในแถบเอเชียผักกาดหัวที่นิยมบริโภคกันมากจะมีรูปร่างทั้งกลมและยาวเนื้อภายในสีขาว ในขณะที่แถบยุโรปจะนิยมบริโภคผักกาดหัวที่มีลักษณะกลมเล็กสีแดง โดยทั่วไปผักกาดหัวแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1.Temperate type ชอบอากาศเย็นลักษณะใบมีขอบเว้าลึกเข้าไปในใบ ส่วนใหญ่จะมีขนซึ่งมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หนักและพันธุ์กลาง ที่มีขนาดใหญ่เป็นพันธุ์ที่พบทั่วไปในเขตอบอุ่น
2.Tropical type ลักษณะขอบใบเรียบไม่มีรอยหยักหรือมีน้อยมาก ใบจะไม่มีขน ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์เบา เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
ผักกาดหัวปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง(PH) ประมาณ 5.5-6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกประมาณ 18-24 องศาเซลเซียส และเหมาะแก่การปลูกในฤดูหนาว ต้องการความชื้นสม่ำเสมอและแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ผักกาดหัวเป็นพืชที่ต้องการอากาศเย็นในการกระตุ้นการออกดอก
การปลูก
การเตรียมดิน
โดยการไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพลิกดิน ตากดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์และทำการโรยปูนขาวลงทั่วแปลง(ในกรณีที่ดินเป็นกรด) โดยใช้อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ แล้วทำการไถครั้งที่ 2 และย่อยดิน ทำการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่และปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ รองพื้นพร้อม “น๊อกไดน์ 5 G” โดยใช้อัตราพอประมาณ แล้วใช้จอบหมุนพรวนกลบ จึงแต่งแปลงให้มีความกว้าง 100 เซ็นติเมตร ทางเดิน 50 เซ็นติเมตร การทำแปลงให้สูงและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยจะทำให้การลงหัวของผักกาดหัวดียิ่งขึ้น

การปลูก
โดยทั่วไปผักกาดหัวนิยมปลูกแบบเป็นแถว โดยจะใช้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 15-20 เซ็นติเมตร หยอดเมล็ดผักกาดหัวหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อทำการปลูกเสร็จแล้วให้ทำการกลบดินบางๆ พร้อมทั้งนำฟางข้าวมาปกคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้นให้กับแปลง หลังจากที่ผักกาดหัวงอกได้ประมาณ 3-5 วัน ให้ทำการถอนแยก โดยถอนแยกด้วยความระมัดระวัง อย่าให้มีการกระทบกระเทือนต่อต้นใกล้เคียงกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรทำการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ให้เพียงพอกับความต้องการของพืช ในระยะกล้าควรให้น้ำเป็นฝอยละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้ผักกาดหัวหักล้ม
การใส่ปุ๋ย
หลังจากต้นผักกาดหัวมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบให้ทำการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 หรือ 46-0-0 โดยทำการโรยระหว่างแถวประมาณ 1/2 ช้อนชา/ต้น และหลังจากนั้นอีก 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา/ต้น ในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งควรจะทำการพรวนดินและกำจัดวัชพืชไปด้วย
การเก็บเกี่ยว
จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุผักกาดหัวประมาณ 45-55 วันหลังจากหยอดเมล็ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ หรือดูตามขนาดของพันธุ์ตามความต้องการของตลาด โดยทั่วไปจะทำการเก็บเกี่ยวด้วยการถอน ผักกาดหัวที่แก่เกินอายุเก็บเกี่ยวจะมีอาการที่เรียกว่า “ฟ่าม” เกิดขึ้นซึ่งเป็นเนื้อเยื่อภายในของผักกาดหัวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นเส้นใย มีลักษณะคล้ายฟองน้ำไม่เหมาะกับการบริโภค ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผักกาดหัวจึงต้องระมัดระวังเรื่องการเก็บเกี่ยวเป็นอย่างมาก

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ผักกาดหัว

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซีซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
( เริ่มสร้างหัว ) บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
น๊อคทริน 10 % 10 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ชอสแมค 10 ซีซี.
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี
v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Foot rot / Root rot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน /
น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคโคนเน่า หรือ -จะพบมากในช่วงเริ่มแตกกอเป็นต้นไป ใบที่อยู่ล่างๆ จะเหลืองและเหี่ยว ที่โคนต้นจะ
โรคราเมล็ดผักกาด เป็นรอยสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ และจะพบเมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ด
( Sclerotinia rot ) ผักกาดติดอยู่บริเวณโคนต้น หากพบใช้โนมิลดิว 3 ช้อน / ปี๊บ ฉีด หรือใช้สารจุลินทรีย์
พวกบาซิลัสซับทิลิส และพวกไตรโคเดอม่าฉีดพ่นหรือรดโคนต้น
5. โรคไส้ดำ -เกิดจากการขาดธาตุโบรอน(B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากหรือหัวจะผุ
(Black rot) เปราะเมื่อผ่าดูในส่วนกลางของหัวจะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี./น้ำ ปี๊บ

การป้องกันโรคและแมลง
1. โรคไส้กลวงดำ (Black heart) เกิดจากการขาดธาตุโบรอน อาการ เนื้อเยื่อภายในลำต้น ราก และหัว จะฟ่าม กลวงและมีสีดำ ทำให้ลำต้นแคระแกร็นเป็นสาเหตุให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายให้เน่าอย่างรวดเร็ว ป้องกันกำจัดโดย ไม่ควรปลูกผักเหล่านี้ซ้ำที่ ควรปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลอื่นบ้าง ปรับดินด้วยปูนขาวเมื่อดินเป็นกรดหรือเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุโบรอนให้พืช โดยฉีดพ่นปุ๋ยบอแรกซ์ เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้มากจะช่วยป้องกันโรคนี้ได้มาก
2. โรคเน่าเละ (Solf rot) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora อาการ แผลจะเป็นจุดช้ำน้ำยิ่งจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำ ภายใน 2-3 วันผักจะเน่าบุบหายไปหมดทั้งต้นและหัว(ราก) หรือฟุบแห้งเป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการจะเน่าขึ้นที่ส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มเน่าที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน เชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปทางบาดแผลซึ่งเกิดจากหนอนหรือเชื้อราบางชนิดได้ทำลายไว้ก่อน นอกจากนี้ยังเกิดร่วมกับโรคไส้ดำที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน ซึ่งผักในตระกูลนี้มีความต้องการสูงกว่าพืชตระกูลอื่น ป้องกันกำจัดโดยพ่นยาโคไซด์ DF ในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่เพื่อป้องกันในอัตรา 15-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นยากำจัดแมลงและหนอนเช่น พอสซ์,สกาย, สเปโต, ชาร์จ เป็นต้น ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมอยู่ด้วยหรือฉีดพ่นธาตุโบรอนแต่เพียงอย่างเดียว ในอัตราส่วนปุ๋ยบอแรกซ์ 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
3. โรคเน่าดำ (Black rot) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xantomonas campestris อาการขอบใบจะแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่มีปลายแหลมชี้เข้าไปที่เส้นกลางใบ เนื้อเยื่อที่แห้งจะมีเส้นกลางใบสีดำชัดเจน ทำให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามไปถึงกลางใบแล้วลุกลามไปถึงก้านใบและใบอื่นๆ ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งตายไป ผักชะงักการเจริญเติบโตและตายไปในที่สุด การป้องกันกำจัด โรคนี้เข้าใจว่าติดมากับเมล็ดพันธุ์ การปลูกพืชหมุนเวียนจะลดการระบาดของโรคนี้ลงได้
แมลงศัตรูของผักกาดหัว
หนอนใยผัก (Diamond-back moth,Plutell xylostella L) สังเกตได้จากการกัดกินใบของหนอน กัดกินผิวด้านล่างของใบจนเกิดเป็นรูพรุน มักเข้าไปกัดกินใบส่วนยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดได้รับความเสียหายพบไข่หนอนและใยหนอนที่ใบ การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น เอนลิช ,สกาย, สเปโต อย่างใดอย่างหนึ่งทุก 5-7 วัน หรือตามคำแนะนำในฉลาก
ด้วงหมัดกระโดด (Flea beetles,Phyllotreta sinuata) จะกัดกินใบจนเป็นรูพรุน ตัวอ่อนที่เป็นตัวหนอนชอบกัดกินรากพืช โดยทั่วไปชอบอาหารพวกผักที่มีกลิ่นฉุนเช่นผักกาดต่างๆ ระบาดได้ทุกฤดูแต่จะระบาดมากในฤดูฝน
การป้องกันกำจัดโดย เมื่อพบการระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น สกาย,คาร์โบน๊อก,สเปโต เป็นต้น อัตราใช้ตามระบุข้างฉลาก
เพลี้ยอ่อน (Aphid,Aphis maidis ) พบทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีกขนาดเล็กมากรูปร่างคล้ายผลฝรั่ง จะกัดกินใบ ทำให้ใบเป็นรูพรุนระบาดได้รวดเร็วมาก การป้องกันกำจัด เมื่อพบการระบาดใช้สารเคมี ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เช่น มาลาไธออน,เซพวิน 85 ,พอสซ์ เป็นต้น อัตราใช้ตามระบุข้างฉลาก

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ผักกาดหัว

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซีซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
( เริ่มสร้างหัว ) บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
น๊อคทริน 10 % 10 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ชอสแมค 10 ซีซี.
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี
v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Foot rot / Root rot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน /
น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว
( Downy mildew ) + เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี.
+ โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคโคนเน่า หรือ - จะพบมากในช่วงเริ่มแตกกอเป็นต้นไป ใบที่อยู่ล่างๆ จะเหลืองและเหี่ยว ที่โคนต้นจะ
โรคราเมล็ดผักกาด เป็นรอยสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ และจะพบเมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ด
( Sclerotinia rot ) ผักกาดติดอยู่บริเวณโคนต้น หากพบใช้โนมิลดิว 3 ช้อน / ปี๊บ ฉีด หรือใช้สารจุลินทรีย์
พวกบาซิลัสซับทิลิส และพวกไตรโคเดอม่าฉีดพ่นหรือรดโคนต้น
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุโบรอน(B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากหรือหัวจะผุ
(Black rot) เปราะเมื่อผ่าดูในส่วนกลางของหัวจะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี./น้ำปี๊บ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอสภาพภูมิประเทศหรือสภาพภูมิอากาศด้วยครับ

    ตอบลบ