ถั่วฝักยาว http://www.chiataigroup.com/
ถั่วฝักยาวเป็นพืชล้มลุกจัดอยู่ใน
Family : Leguminosae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna esquipedalis
ชื่อสามัญ : Yard long Bean
ข้อมูลทั่วไป
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่นิยมบริโภคอยู่ทั่วไปของประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด และรับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย
วิธีการปลูก
การเตรียมดิน
โดยการไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกตากดินและกำจัดวัชพืช ไถครั้งที่สองเพื่อย่อยดินและผสมปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตันต่อไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เตรียมแปลงปลูกขนาดความกว้าง 80 เซนติเมตร ทางเดิน 1 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร
การทำค้าง
โดยการปักข้างหลุมปลูกแล้วมัดปลายเข้าหากันทำเป็นกระโจมสูงประมาณ 1.50 เมตร
ด้านหน้า (รูป) ด้านข้าง (รูป)
การปลูก
ปกติถั่วฝักยาวจะปลูกแบบหยอดเมล็ดลงในแปลงเลย ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยกันแมลงและเชื้อโรค จำนวนเมล็ดที่ใช้ปลูก 3-4 เมล็ดต่อหลุม ฝังเมล็ดลงในดินลึกประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร โดยใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จควรคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม
การถอนแยก
เมื่อถั่วฝักยาวมีอายุ 15-20 วัน ก็ทำการถอนแยกต้นถั่วให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้หลุมละ 1-2 ต้น วิธีการถอนแยกควรใช้มีดหรือเด็ดลำต้นทิ้งไม่ควรถอนแบบมีรากติด เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนระบบรากของต้นที่อยู่ใกล้เคียง
การให้ปุ๋ย
หลังจากการเตรียมแปลงใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จากนั้นก็ใส่อีก 3 ครั้ง โดยแบ่งใส่เป็นช่วงๆ ดังนี้
ช่วงแรก เมื่อต้นถั่วฝักยาวยาวอายุ 15-20 วัน ช่วงถอนแยก) ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
(อัตรา 30 ก.ก./ไร่)
ช่วงที่สอง ถั่วฝักยาวอายุ 35-40 วัน (ช่วงก่อนออกดอก-ออกดอก) ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกับ
ช่วงแรก (อัตรา 50 ก.ก./ไร่)
ช่วงที่สาม เมื่อถั่วฝักยาวอายุ 55-60 วัน (ช่วงติดฝัก) ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตร
15-15-15 จะให้สูตรไหนขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น
วิธีการใส่ปุ๋ยโดยการโรยรอบๆ ต้น 1-2 ช้อนแกงต่อต้น
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงออกดอกและติดฝักอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ดอกและฝักร่อง
ปุ๋ยทางใบ
ปุ๋ยน้ำ
- ปุ๋ยมามิโกรสูตร 12-9-6 ใช้ในช่วงการเจริญเติบโต (ผสมกับยาฆ่าแมลงด้วยก็ได้)
- ปุ๋ยออร์กามิน เป็นธาตุอาหารเสริม (ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกครั้งแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้น)
- ปุ๋ยอโทนิค ใช้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
ปุ๋ยเกร็ด
- ปุ๋ยมามิโกรสูตร 12-9-6 , 10-52-17, 6-32-35 ใช้ช่วงออกดอก-เก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
ในการเก็บฝักสดนั้นจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อถั่วอายุ 50-55 วันหลังหยอดเมล็ด การเก็บโดยทั่วไปใช้มือเด็ด การเก็บควรเลือกเก็บฝักที่ยังไม่พองมีความเรียบสม่ำเสมอ เก็บทุกๆ 1-2 สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25-30 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับการบำรุงและดูแลรักษาต้น)
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคที่สำคัญ ได้แก่
1. โรคโคนและรากเน่า (Root and basal stem rot) สาเหตุเกิดจากเชื้อราชื่อ
Pythium. ระบาดมากช่วงฤดูฝนและสภาพแปลงปลูกที่มีน้ำขังหรือการระบายน้ำไม่ดี
อาการของโรค เชื้อจะเข้าทำลายบริเวณโคนต้นที่อยู่เหนือผิวดินเล็กน้อย โดยบริเวณดังกล่าว
จะมีสีน้ำตาลมีเส้นใยสีขาว เชื้อราขึ้นคลุมอยู่ ทำให้ต้นถั่วเหี่ยวตาย
การป้องกันกำจัด
- เตรียมดินให้ดีอย่าให้มีสภาพน้ำขัง
- ใส่ปูนขาวปรับปรุงดินอัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่
- คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยยาแคปแทน
- ถอนต้นเป็นโรคทิ้งและทำลายเสีย
2. โรคราสนิม (Rust) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Uromyces phaseoli
อาการ ใบเป็นแผลแห้ง ตรงกลางแผลมีสปอร์สีน้ำตาลแดงหรือสีสนิมแตกออกจากรอย
นูนเล็กๆ ที่เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม แผลดังกล่าวมีทั้งบนใบใต้ใบ และตามลำต้น ใบที่มีหลายแผลจะเหลืองและร่วง
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารดีซีตรอนพลัส 50-100 CC. ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. โรคใบจุดของถั่วฝักยาว (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora
อาการ เป็นจุดสีน้ำตาลบนใบอาจมีจุดเดียวหรือหลายจุดบนใบหนึ่งๆ จุดนี้มีลักษณะกลม
หรือค่อนข้างกลม ตรงกลางแผลมีสีเทา ต่อมารอยแผลสีน้ำตาลจะขยายออกมาชิดกัน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมเชื้อจะระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงฝนตกชุก โรคนี้จะพบมากในระยะต้นถั่วฝักยาวติดฝักจนถึงฝักแก่
การป้องกันกำจัด
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- ฉีดพ่นด้วยบาวีซาน 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แมลงศัตรูถั่วฝักยาวที่สำคัญได้แก่
1. หนอนเจาะต้นถั่วหนอนเจาะฝัก
ลักษณะการทำลาย เมื่อหนอนเข้าทำลายต้นและฝัก จะทำให้เถาของถั่วมีแผลบวมพอง และปริแตกออกเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบถั่วแห้ง เถาถั่วและฝักถั่วไม่เจริญเติบโต ฝักถั่วมีรูเจาะแลบิดเบี้ยว
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเดต้า อัตรา 30-40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
2. เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการลาย จะทำลายส่วนต่างๆของถั่วฝักยาวดูดน้ำเลี้ยงบริเวณส่วนต่างๆ ของพืช โดยจะเกาะติดเป็นกลุ่มสีดำตามต้นใบ และดอกทำให้ถั่วฝักยาวชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกัน ใช้ยา ไดเบทโธเอท ฉีดพ่น
3. หนอนชอนใบ
ลักษณะการทำลาย จะทำลายส่วนของใบถั่วฝักยาวให้เป็นรอย ตัวหนอนจะอยู่ผิวใบ
ถ้าระบาดมากจะทำให้ใบถั่วฝักยาวเหี่ยวและแห้งร่วงหล่นไปในสุด ถ้าให้ต้นทรุดโทรมเร็ว
การป้องกันกำจัด
- ฉีดพ่นยาด้วยยา ดีซี ตรอน พลัส , ชอสแมค
เคล็ดลับในการปลูกถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวไม่สมควรใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เพราะจะทำให้เฝือใบ ไม่ติดฝัก
ความคุ้มค่าของการลงทุน
- ถั่วฝักยาวให้ผลผลิต 4,000-4,500 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิต 5,000 บาท / ไร่
- ถั่วฝักยาวกิโลกรัมละ 7-8 บาท รายได้ประมาณ 32,000 บาท/ไร่
ถั่วฝักยาวเป็นพืชล้มลุกจัดอยู่ใน
Family : Leguminosae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna esquipedalis
ชื่อสามัญ : Yard long Bean
ข้อมูลทั่วไป
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่นิยมบริโภคอยู่ทั่วไปของประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด และรับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย
วิธีการปลูก
การเตรียมดิน
โดยการไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกตากดินและกำจัดวัชพืช ไถครั้งที่สองเพื่อย่อยดินและผสมปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตันต่อไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เตรียมแปลงปลูกขนาดความกว้าง 80 เซนติเมตร ทางเดิน 1 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร
การทำค้าง
โดยการปักข้างหลุมปลูกแล้วมัดปลายเข้าหากันทำเป็นกระโจมสูงประมาณ 1.50 เมตร
ด้านหน้า (รูป) ด้านข้าง (รูป)
การปลูก
ปกติถั่วฝักยาวจะปลูกแบบหยอดเมล็ดลงในแปลงเลย ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยกันแมลงและเชื้อโรค จำนวนเมล็ดที่ใช้ปลูก 3-4 เมล็ดต่อหลุม ฝังเมล็ดลงในดินลึกประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร โดยใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จควรคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม
การถอนแยก
เมื่อถั่วฝักยาวมีอายุ 15-20 วัน ก็ทำการถอนแยกต้นถั่วให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้หลุมละ 1-2 ต้น วิธีการถอนแยกควรใช้มีดหรือเด็ดลำต้นทิ้งไม่ควรถอนแบบมีรากติด เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนระบบรากของต้นที่อยู่ใกล้เคียง
การให้ปุ๋ย
หลังจากการเตรียมแปลงใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จากนั้นก็ใส่อีก 3 ครั้ง โดยแบ่งใส่เป็นช่วงๆ ดังนี้
ช่วงแรก เมื่อต้นถั่วฝักยาวยาวอายุ 15-20 วัน ช่วงถอนแยก) ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
(อัตรา 30 ก.ก./ไร่)
ช่วงที่สอง ถั่วฝักยาวอายุ 35-40 วัน (ช่วงก่อนออกดอก-ออกดอก) ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกับ
ช่วงแรก (อัตรา 50 ก.ก./ไร่)
ช่วงที่สาม เมื่อถั่วฝักยาวอายุ 55-60 วัน (ช่วงติดฝัก) ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตร
15-15-15 จะให้สูตรไหนขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น
วิธีการใส่ปุ๋ยโดยการโรยรอบๆ ต้น 1-2 ช้อนแกงต่อต้น
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงออกดอกและติดฝักอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ดอกและฝักร่อง
ปุ๋ยทางใบ
ปุ๋ยน้ำ
- ปุ๋ยมามิโกรสูตร 12-9-6 ใช้ในช่วงการเจริญเติบโต (ผสมกับยาฆ่าแมลงด้วยก็ได้)
- ปุ๋ยออร์กามิน เป็นธาตุอาหารเสริม (ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกครั้งแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้น)
- ปุ๋ยอโทนิค ใช้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
ปุ๋ยเกร็ด
- ปุ๋ยมามิโกรสูตร 12-9-6 , 10-52-17, 6-32-35 ใช้ช่วงออกดอก-เก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
ในการเก็บฝักสดนั้นจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อถั่วอายุ 50-55 วันหลังหยอดเมล็ด การเก็บโดยทั่วไปใช้มือเด็ด การเก็บควรเลือกเก็บฝักที่ยังไม่พองมีความเรียบสม่ำเสมอ เก็บทุกๆ 1-2 สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25-30 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับการบำรุงและดูแลรักษาต้น)
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคที่สำคัญ ได้แก่
1. โรคโคนและรากเน่า (Root and basal stem rot) สาเหตุเกิดจากเชื้อราชื่อ
Pythium. ระบาดมากช่วงฤดูฝนและสภาพแปลงปลูกที่มีน้ำขังหรือการระบายน้ำไม่ดี
อาการของโรค เชื้อจะเข้าทำลายบริเวณโคนต้นที่อยู่เหนือผิวดินเล็กน้อย โดยบริเวณดังกล่าว
จะมีสีน้ำตาลมีเส้นใยสีขาว เชื้อราขึ้นคลุมอยู่ ทำให้ต้นถั่วเหี่ยวตาย
การป้องกันกำจัด
- เตรียมดินให้ดีอย่าให้มีสภาพน้ำขัง
- ใส่ปูนขาวปรับปรุงดินอัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่
- คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยยาแคปแทน
- ถอนต้นเป็นโรคทิ้งและทำลายเสีย
2. โรคราสนิม (Rust) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Uromyces phaseoli
อาการ ใบเป็นแผลแห้ง ตรงกลางแผลมีสปอร์สีน้ำตาลแดงหรือสีสนิมแตกออกจากรอย
นูนเล็กๆ ที่เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม แผลดังกล่าวมีทั้งบนใบใต้ใบ และตามลำต้น ใบที่มีหลายแผลจะเหลืองและร่วง
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารดีซีตรอนพลัส 50-100 CC. ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. โรคใบจุดของถั่วฝักยาว (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora
อาการ เป็นจุดสีน้ำตาลบนใบอาจมีจุดเดียวหรือหลายจุดบนใบหนึ่งๆ จุดนี้มีลักษณะกลม
หรือค่อนข้างกลม ตรงกลางแผลมีสีเทา ต่อมารอยแผลสีน้ำตาลจะขยายออกมาชิดกัน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมเชื้อจะระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงฝนตกชุก โรคนี้จะพบมากในระยะต้นถั่วฝักยาวติดฝักจนถึงฝักแก่
การป้องกันกำจัด
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- ฉีดพ่นด้วยบาวีซาน 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แมลงศัตรูถั่วฝักยาวที่สำคัญได้แก่
1. หนอนเจาะต้นถั่วหนอนเจาะฝัก
ลักษณะการทำลาย เมื่อหนอนเข้าทำลายต้นและฝัก จะทำให้เถาของถั่วมีแผลบวมพอง และปริแตกออกเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบถั่วแห้ง เถาถั่วและฝักถั่วไม่เจริญเติบโต ฝักถั่วมีรูเจาะแลบิดเบี้ยว
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเดต้า อัตรา 30-40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
2. เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการลาย จะทำลายส่วนต่างๆของถั่วฝักยาวดูดน้ำเลี้ยงบริเวณส่วนต่างๆ ของพืช โดยจะเกาะติดเป็นกลุ่มสีดำตามต้นใบ และดอกทำให้ถั่วฝักยาวชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกัน ใช้ยา ไดเบทโธเอท ฉีดพ่น
3. หนอนชอนใบ
ลักษณะการทำลาย จะทำลายส่วนของใบถั่วฝักยาวให้เป็นรอย ตัวหนอนจะอยู่ผิวใบ
ถ้าระบาดมากจะทำให้ใบถั่วฝักยาวเหี่ยวและแห้งร่วงหล่นไปในสุด ถ้าให้ต้นทรุดโทรมเร็ว
การป้องกันกำจัด
- ฉีดพ่นยาด้วยยา ดีซี ตรอน พลัส , ชอสแมค
เคล็ดลับในการปลูกถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวไม่สมควรใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เพราะจะทำให้เฝือใบ ไม่ติดฝัก
ความคุ้มค่าของการลงทุน
- ถั่วฝักยาวให้ผลผลิต 4,000-4,500 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิต 5,000 บาท / ไร่
- ถั่วฝักยาวกิโลกรัมละ 7-8 บาท รายได้ประมาณ 32,000 บาท/ไร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น