หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกแฟง ผักทอง สควอซ

การปลูกแฟง, ฟักทอง, สควอช
http://www.chiataigroup.com/

ข้อมูลทั่วไป
แฟง, ฟักทอง, สควอช เป็นพืชล้มลุกอยู่ในตระกูลแฟง รับประทานได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน และส่วนยอดสามารถนำมาจิ้มน้ำพริกได้อีกด้วย แฟง, ฟักทอง, สควอช สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทรายที่มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-7.5 มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ทุกฤดู ช่วงที่ดีที่สุด คือ ช่วงปลายฝนต้นหนาวจะทำให้มีการติดผลได้ดี
การเตรียมแปลงปลูก

เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วไถพรวนอีกครั้ง ขนาดแปลงกว้าง 4-5 เมตร ยกร่องสูง 20-30 ชม. กว้าง 80-100 ชม. ขุดหลุมลึก 20-30 ชม. ห่างกัน 80-100 ชม. รองพื้นด้วยปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50-100 ก.ก./ไร่ ปุ๋ยคอกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงน็อกไดน์ 5 จี อัตรา 2-3 ก.ก./ไร่ หยอดหลุมปลูก
วิธีการปลูก สามารถทำได้ 2 วิธี
1. วิธีการหยอดเมล็ด โดยหยอดลงหลุมปลูก หลุมละ 3-4 เมล็ด ลึก 2-3 ซม. กลบด้วยดินละเอียดหรือปุ๋ยคอกหนา 1-2 ชม. รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงหนาพอสมควร เมื่อต้นกล้าแตกใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือประมาณ 10-15 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1-2 ต้นต่อหลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 2-3 ก.ก. /ไร่
2. วิธีการเพาะกล้า โดยเฉพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้า ขนาด 3” คูณ 7” หรือ 4” คูณ 6” เจาะรูที่ก้นถุงเพาะทั้ง 2 ข้าง วัสดุเพาะประกอบด้วย ดินร่วน 4 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 3 ส่วน ทราย 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน เมื่อต้นกล้าอายุ 10-15 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ย้ายลงแปลงปลูก
การปลูกฟักทองพันธุ์สควอช, แฟงลูกผสม ควรใช้วิธีการเพาะกล้า จะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาต้นกล้าและประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
1. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 1-2 กก./ไร่ ใส่เมื่อฟักทอง, สควอช, แฟง อายุ 25-30 วันหลังปลูก
2. ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50-100 กก./ไร่ ใส่เมื่อฟักทอง, สควอช, แฟง อายุ 25-30 วันหลังปลูกโดยโรยรอบๆ ต้น
3. ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ช่วงเริ่มออกดอก (อายุประมาณ 40-45 วันหลังปลูก) ครั้งที่สองใส่ช่วงติดผลอ่อน (อายุประมาณ 60-65 วันหลังปลูก)
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ พอชื้นๆ อย่าให้แฉะเกินไป ช่วงที่ไม่ควรขาดน้ำคือ ช่วงออกดอกถึงติดผล ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิตมาก
การเด็ดยอด
การเด็ดยอดจะช่วยให้ฟักทอง สควอช, แฟง ออกดอกและแตกแขนงเร็ว มีอัตราส่วนดอกตัวเมียเพิ่มขึ้น ควรเด็ดยอดฟักทองหลังปลูกแล้วประมาณ 20-25 วัน หรือมีใบจริง 7-8 ใบโดยเด็ดข้อที่ 7-8 และจะเด็ดยอดอีกครั้งหลังติดผลแล้ว (เถาเลื้อยได้ประมาณ 3-3.5 เมตร)
การตัดแต่งเถาและไว้ผล
การปลูกฟักทอง สควอช, แฟง ควรมีการจัดเถาให้ไปทิศทางเดียวกันให้เป็นระเบียบและจะสะดวกต่อการดูแลรักษาเช่น การพ่นยา หรือการใส่ปุ๋ย เป็นต้น การไว้เถาจะไว้ 2-3 เถาต่อกันและคอยตัดแขนงที่แตกออกจากเถาหลัก การไว้ผลควรไว้ผลในตำแหน่งข้อที่ 12 ขึ้นไป
โรคแมลงและการป้องกันกำจัด
1. โรคราน้ำค้าง
อาการ แรกๆ จะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีเหลืองด้านบนใบ ด้านล่างที่ตรงกับแผลถ้าอากาศ
ชื้น จะเห็นเส้นใยเป็นขุยขาวๆ อมม่วง ในตอนเช้าหรือความชื้นสัมพัทธ์สูงต่อมาใบแห้งสีน้ำตาล มักจะเป็นที่ใบแก่ที่โคนเถาก่อน
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อราพวกเทนเอ็ม 45 ผสมโนมิลดิลฉีดพ่น
2. โรคราแป้ง
อาการ ใบจะมีราสีขาวคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบ ขยายไปจนเต็มผิวใบ ทำให้
ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาพวกกำมะถัน เช่น ซุปเปอร์ซิก, โพลี่อ๊อกซิน
3. โรคยอดหงิก-ใบด่าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มีแมลงศัตรูพืชพวกปากดูด เป็น
พาหะนำโรค เช่น แมลงหวี่ขาว, เพลี้ยอ่อน, และเพลี้ยไฟ
อาการ ใบจะมีสีเขียวและสีเหลืองลายทั่วไป และแผ่นใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชัน ยอดหด และชะงักการเจริญเติบโต ไม่ผลิตออกดอกผล
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาฆ่าแมลงพวก ชอสแมค, ไดทาฟอส, ไดเมทโธเอท
- ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งออกจากแปลง
4. แมลงเต่าแตง ทำลายโดยกัดกินใบอ่อน พบมากในระยะกล้าช่วงแรกของการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาฆ่าแมลง น็อกทริน
5. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงประเภทปากดูด จะดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนที่กำลังเจริญเติบโตทำให้ตา
ดอก ยอดอ่อน แคระแกรนไม่เจริญเติบโต หากต้นพืชอ่อนแอขาดน้ำ ทำให้ใบและต้นแห้งตายได้ อาการเห็นชัด คือ ยอดชูตั้งขึ้น
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาฆ่าแมลง ชอสแมค
6. แมลงหวี่ขาว เป็นแมลงขนาดเล็กชอบอยู่ใต้ใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงพืชและเป็นพาหะนำโรคใบ
หดใบด่างจุดเหลือง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้พืชแคระแกรน ใบด่างจุดเหลืองต่อไปจะเป็นสีน้ำตาลไหม้จากขอบใบม้วนงอลง
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาฆ่าแมลง ชอสแมค, น็อกทริน
7. หนอนชอนใบ เป็นหนอนของแมลงวัน ตัวหนอนจะกัดกินผิวใบ ทำให้ใบเสียพื้นที่ปรุง
อาหาร ใบขาดแหล่างเป็นรอย
การป้องกันกำจัด
- พ่นยาฆ่าแมลง ดีซี ตรอน พลัส, ชอสแมค
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวของฟักทองแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากัน ควรเก็บฟักทองเมื่อผลแก่เต็มที่ ซึ่งจะทำให้เก็บไว้ได้นาน ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
1. สังเกตลักษณะสีผิวฟักทอง ฟักทองที่แก่จะสังเกตเห็นผงสีขาวขึ้นปกคลุมตามผิวของผลฟักทองได้ 3 ใน 4 ของผล หรือเต็มผล
2. สังเกตที่ขั้วผล จะมีสีเหลืองแห้งและแข้ง หรือขั้วผลจะขยายเต็มที่และแตกร้าวเป็นรอยสีน้ำตาลและแข้ง
3. แฟง เก็บผลอ่อนหลังจากดอกบาน 7-10 วัน หรือเก็บผลน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
4. แฟงเก็บผลแก่หลังจากดอกบาน 40-50 วัน
เทคนิคการปลูก
- ช่วงแรกของการปลูกต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคไวรัส
- ฟักทองต้องตัดแต่งแขนงออกบ้างเพื่อจะให้มีการติดผลที่ดี
ความคุ้มค่าของการลงทุน
ฟักทอง, สควอช ต้นทุนการผลิต/ไร่ = 11,500 บาท
ผลผลิต / ไร่ = 4.5 ตัน
ราคา/กก. = 5 บาท = 5,000 x 5 = 25,000 บาท
: ผลกำไร = 25,000-11,500 = 13,500 บาท
แฟง ต้นทุนการผลิต 14,000 บาท
ผลผลิต / ไร่ 9 ตัน
ราคาผลผลิต/กก. = 3 บาท = 9,000 x 3 = 27,000 บาท
: ผลกำไร = 27,000-14,000 = 13,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น