หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกคื่นฉ่าย

คื่นฉ่าย (CHINESE CELERY) http://www.chiataigroup.com/
ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
ตระกูล Umbelliferae
แหล่งกำเนิด แถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกาเหนือ
อายุการเก็บเกี่ยว 110 วัน
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกที่มีใบ ก้านใบ ลำต้น รากและเมล็ดมีกลิ่นหอม มีก้านใบขนาดเล็ก หนึ่งใบประกอบด้วย ใบย่อย 3-7 ใบ มีลำต้นสั้น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมดิน สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
อุณหภูมิ ต้องการสภาพอากาศที่เย็น ในการเพาะปลูก
ความชื้น ต้องการความชื้นที่พอเหมาะ อย่าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้เน่าง่าย
ปุ๋ย การให้ปุ๋ยเหมือนกับผักกินใบทั่วไป

วิธีการปลูกและดูแลรักษา
1. เตรียมดิน ไถดินตากไว้ 1 สัปดาห์ ใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก และปุ๋ย 15-15-15 ไถพรวนดินให้ละเอียด ขึ้นแปลง กว้าง 1 เมตร ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
2. การเตรียมเมล็ด แช่น้ำแล้วนำมาห่อผ้า ใส่ตู้เย็น 24 ชม.
3. การปลูก สามารถปลูกได้โดยหยอดเมล็ดเป็นแถว โดยการทำร่องตามขวางหรือตามยาวของแปลง ลึกประมาณ 1 ซม. นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาโรยในร่องระยะระหว่างต้น 10 –20 ซม.
ระหว่างแถว 20-30 ซม. แล้วกลบด้วยดินละเอียด ใช้เศษฟางข้าวคลุม รักษาความชื้นในดิน
4. การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 110 วัน หลังเพาะเมล็ด (แล้วแต่พันธุ์หรือฤดูกาล) โดยถอนต้นพร้อมรากหรือตัดโคนต้น ถ้าดินในแปลงแห้ง ควรมีการรดน้ำในดินให้ชุ่มก่อน

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 30 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ข้อแนะนำ : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงผักป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะ
(Leaf spot) ขยายติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2
ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โน
(Downy mildew) มิลดิว + เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา
1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้น
(Soft rot) เป็นเมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย
นูริช 40 ซีซี. + โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคโคนเน่า หรือ - จะพบมากในช่วงเริ่มแตกกอเป็นต้นไป ใบที่อยู่ล่างๆ จะเหลืองและเหี่ยว ที่โคน
โรคราเมล็ดผักกาด ต้นจะเป็นรอยสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆและจะพบเมล็ดสีน้ำตาลคล้าย
(Sclerotinia rot) เมล็ดผักกาดติดอยู่บริเวณโคนต้น หากพบใช้โนมิลดิว 3 ช้อน/ปี๊บ ฉีด หรือใช้ สารสกัดจุลินทรีย์พวกบาซิลัส ซับทิลิส และพวกไตรโคเดอม่า ฉีดพ่นและรดโคนต้น

เคล็ดลับในการปลูกคื่นฉ่าย
ควรมีการรดน้ำให้สม่ำเสมอ และเพียงพอ แต่อย่าให้แฉะเกินไป เพราะจะทำให้เน่าเสียหายได้
โรคและแมลงศัตรูของคื่นฉ่าย
คื่นฉ่ายเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน โรคที่สำคัญ คือ โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ และโรคใบจุด ป้องกันโดยพ่นยากันเชื้อรา

1 ความคิดเห็น:

  1. แช่น้ำกี่นาที ถึงเอาออกมาแช่ตู้เย็นครับ

    ตอบลบ