หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักกาดเขียวปลี

ผักกาดเขียวปลี (Chinese green mustard) http://www.chiataigroup.com/
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica juncea
ชื่อสามัญ Chinese green mustard

ผักกาดเขียวปลีมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก ปลูกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ในจีนตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซี โดยเฉพาะมณฑลเสฉวน และในอินเดีย
สามารถแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ
1. พวกเข้าปลีแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ปลีกลมผลผลิตต่อไร่สูงแต่จะแตกร้าวง่าย ชะลอการเก็บเกี่ยวไม่ได้, พันธุ์ปลีแหลมผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าปลีกลม ชะลอการเก็บได้นานขึ้น
2. พวกลำต้นพองหนาส่วนของลำต้นจะพองหนาขึ้นก่อนการออกดอกนิยมนำมาปอกและใช้ดองเค็ม
3. พวกไม่เข้าปลีมีรสขมน้อยกว่าพวกเข้าปลี สามารถนำมาใช้เป็นผักสดรับประทานได้โดยตรง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผักกาดเขียวปลีเป็นผักที่ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน และเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด PH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6-6.5
การเพาะกล้าลงถาดเพาะกล้า
เตรียมวัสดุเพาะโดยใช้ Peat Most 3 ส่วน Vermiculite 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในถาดเพาะขนาด 50 หลุม ให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกด รดน้ำให้ชุ่ม เจาะหลุมลึกประมาณ 1 มิลลิเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วกลบหลังจากเพาะเมล็ด 3-5 วัน ทำการซ่อมหลุดที่ไม่งอกโดยการย้ายต้นกล้าจากหลุมที่งอกมากกว่า 1 ต้นมาปลูกยังหลุมที่ไม่งอก ถ้าต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ค่อยดีควรรดปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใสบัวรด และรดน้ำตามควรให้ปุ๋ยในช่วงเย็น ระยะก่อนปลูก 3-5 วัน ควรให้น้ำน้อยลง เพื่อเตรียมต้นกล้าให้ปรับตัวในสภาพแปลงปลูก ควรพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืช 1 วันก่อนย้ายปลูก
วิธีการปลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูก
ถ้าพื้นที่มีสภาพดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาว 100-200 ก.ก.ต่อไร่ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 ก.ก. ต่อไร่แล้วพรวนด้วยจอบหมุน ยกแปลงกว้าง 1 เมตร ร่องน้ำ 0.5 เมตรปลูกแปลงละ 2 แถว ระยะห่างระหว่างต้น 40 ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย 15-15-15 ประมาณครึ่งช้อนชาและฟูราดานเล็กน้อยคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน
การย้ายกล้า
เมื่อต้นกล้าอายุได้ 25-30 วันควรทำการย้ายไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ควรย้ายกล้าเวลาบ่ายถึงเย็น กรณีเพาะลงแปลงเพาะกล้า ควรให้มีดินติดรากมากที่สุด เมื่อปลูกเสร็จควรรดน้ำตามทันที
การปฏิบัติรักษา
การให้น้ำ
ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าอย่าให้น้ำเปียกแฉะเกินไป อย่าปล่อยให้ดินแห้งมากเกินไปจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตในระยะแรกควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ย
ช่วงต้นกล้าหากพบว่าไม่สมบูรณ์ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ละลายน้ำประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรใช้บัวรดในช่วงเย็นและรดน้ำตาม หลังจากย้ายกล้า 7-10 วันรดปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่ออายุ 50 วันใส่ปุ๋ย 15-15-15 โดยเจาะหลุมฝังระหว่างต้นประมาณ 5 กรัมและจะใส่ทุกๆ สัปดาห์
การพรวนดิน
ระยะที่ผักยังเล็กอยู่ควรพรวนดินเพื่อให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี ควรพรวนดินพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชทุกๆ สัปดาห์ เมื่อผักต้นโตขึ้นการพรวนดินจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งพุ่มกว้างติดกัน จะพรวนดินเมื่อจำเป็นเท่านั้น
การเก็บเกี่ยว
ผักกาดเขียวปลีจะเริ่มเข้าปลีเมื่ออายุประมาณ 40-50 วันและจะเก็บเกี่ยวประมาณ 55-75 วัน

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ผักกาดเขียวปลี

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน/น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 20 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ข้อแนะนำ : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม + บาวี
ซาน อย่างละ 2 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
ใช้เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Leaf blight ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้ นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ

การป้องกันโรคและแมลง
โรคเน่าเละ เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia อาการเริ่มจากเกิดแผลเป็นรอยช้ำเล็กๆ เป็นจุดฉ่ำน้ำ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยายเนื้อเยื่อจะอ่อนยุบตัวลงเน่าอย่างรวดเร็ว มีเมือกเยิ้มและมีกลิ่นแรงมาก ผักจะเน่ายุบตายทั้งต้นป้องกันกำจัดโดย ควรให้น้ำพอเหมาะอย่าให้แฉะจนเกิดไป เมื่อพบต้นที่แสดงอาการควรถอนทิ้งและใช้ปูนขาวใส่บริเวณที่ถอนต้นออกไป
โรคเน่าดำ เกิดจาก Xanthomonas campestris ระบาดมาในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีความชื้นสูง อาการ ใบแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือเหลืองคล้ายสีทอง แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจะอาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะระบาดได้กว้างขวางเชื้อสามารถติดไปกับเมล็ดได้
โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อราหลายชนิด อาการส่วนโคนของต้นกล้ามีลักษณะเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลเนื่องจากแปลงชื้น มากเกินไปอากาศถ่ายเทไม่สะดวกและหว่านเมล็ดแน่นเกินไป ป้องกันกำจัดโดย คลุกเมล็ดก่อนนำไปปลูก แปลงควรมีการระบาดน้ำที่ดีอย่าเพาะกล้าหรือปลูกแน่นเกินไป
โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อ Peronospora parasitica อาการ เริ่มที่ใบส่วนล่างก่อนโดยเริ่มจากแผลขนาดเล็กสีซีดจาง ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น รูปร่างไม่แน่นอน เมื่อพลิกดูใต้ใบแผลจะยุบลง ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ ในช่วงเช้าอากาศชื้นเมื่อพลิกดูใต้ใบจะพบขุยสีขาว ถ้าเป็นมากๆจะแห้งตายในที่สุด ป้องกันกำจัดโดยคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีพ่นสารเคมี เช่น เทนเอ็ม 45 บาวีซานโคไซด์
โรคไอกึนหรือไอเก็ง เกิดจากการขาดธาตุโบรอน อาการพืชแคระแกรนและมักมีรอยแตกขึ้นตามรอยผิวส่วนต่างๆ เมื่อขุดดูปลายรากจะแห้งเป็นสีดำ ถ้าเป็นมากผ่าดูตรงไส้กลางลำต้นจะเป็นสีดำ วิธีป้องกัน ให้ธาตุโบรอนเสริม
แมลง
หนอนคืบกะหล่ำ
หนอนคืบจะเป็นหนอนที่กินจุโดยกัดกินใบและยอด การป้องกันกำจัดโดยใช้มือจับ แล้วพ่นสารเคมีทุกๆ 7-14 วัน เช่น น๊อคไดน์ สกาย สเปโต ชาร์จ
หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้ผักมีลักษณะลำตัวอ้วนป้อมเคลื่อนไหวช้า ลักษณะการทำลายจะกัดกินใบ ก้านใบ เป็นหย่อมๆพรุนไปหมด การป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่น น๊อคไดน์ สกาย สเปโต ชาร์จ
ด้วงหมัดผัก
ตัวอ่อนขนาดเล็กสีขาวใส ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อถูกกระเทือนกระโดดได้ไกลมาก ป้องกันกำจัดโดยไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมแล้วพ่นสารเคมีเช่น น็อกไดน์ สกาย สเปโต ชาร์จ
ตารางการดูแลรักษาผักกาดเขียวปลี
วัน เดือน ปี
อายุพืช
(วันหลังย้ายกล้า)
งานที่ปฏิบัติ


เพาะกล้า และดูแลต้นกล้า


เตรียมแปลงปลูก
-หว่านปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ ปูนขาว 100-200 ก.ก.ต่อไร่ ก่อนการไถ
-ยกแปลงกว้าง 1 ม.
-พ่นยาคุมวัชพืช มอนโซ่ อัตรา 500 ซีซี.ต่อน้ำ 80 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
-ขุดหลุมปลูกบนแปลงที่เตรียมไว้แปลงละ 2 แถว ระยะ 40 x 50 ซม.


ย้ายปลูกเมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 25-30 วัน โดยรดน้ำในหลุมก่อนปลูกในกรณีที่แปลงปลูกแห้ง และรดน้ำตามทันทีหลังย้ายกล้า

5
-รดปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 100 กรัม+มามิโกร 12-9-6 30 ซี.ซี. + ออร์กามิน 30 ซี.ซี. + อโทนิค 3-5 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 1 ใช้ น็อคไดน์ 30 ซี.ซี. + สเปโต 20 ซี.ซี. + เทนเอ็ม 20 ซี.ซี. + เบสมอ 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

15
-รดปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 100 กรัม + มามิโกร 12-9-6 30 ซี.ซี.+ออร์กามิน 30 ซี.ซี.+อโทนิค 3-5 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 2 ใช้น็อกไดน์ 30 ซี.ซี. + สเปโต 20 ซีซี. + เทนเอ็ม 20 ซี.ซี. + เบสมอร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

25
-รดปุ๋ยครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 100 กรัม+มามิโกร 12-9-6 30 ซี.ซี.+ออร์กามิน 30 ซี.ซี.+อโทนิค 3-5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
-ฝังปุ๋ย 15-15-15 โดยเจาะหลุมฝังห่างจากต้น 15-20 ซม. หลุมละ 15 กรัม
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 3 ใช้น็อกไดน์ 30 ซี.ซี. + สเปโต 20 ซีซี. + บาวีซาน 20 ซี.ซี. + เบสมอร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

35
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 4 ใช้สกาย 20 กรัม + เทนเอม 20 กรัม พอสซ์ 30 ซีซี+เบสมอร์ 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

40
ฝังปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 โดยเจาะหลุมฝังห่างจากต้น 15-20 ซม. หลุมละ 15 กรัม

45
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 5 ใช้ซูมิไซดริน 10 ซีซี + บาวีซาน + เบสมอร์ 5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ : การกำจัดวัชพืช พรวนดินทำตามความเหมาะสม การให้น้ำดูตามสภาพแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น