หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักกาดกวางตุ้ง

ผักกาดกวางตุ้ง (Pak choy) http://www.chiataigroup.com/
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica campestris chinensis
ชื่อสามัญไทย : ผักกาดกวางตุ้ง
ชื่อสามัญอังกฤษ : Pak choy

ข้อมูลทั่วไป
ผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล (family) Cruciferae เป็นพืชล้มลุกปีเดียว (annual plant) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกปัจจุบันแผ่ขยายไปถึงประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และอินเดีย
ในประเทศไทยผักกาดกวางตุ้งที่รู้จักมีอยู่ 2 ชนิด คือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งและกวางตุ้งดอก ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีลักษณะต้นเป็นกอก้านใบและใบยาว ลำต้นไม่ยืด ส่วนกวางตุ้งดอกจะมีลำต้นยืดยาว เก็บเกี่ยวเมื่อออกดอก โดยทั่วไปจะมีก้านเล็กกว่า
ผักกาดกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีที่สุด ในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ดินที่เหมาะสม คือ 6.0-6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส ต้องการสภาพแสงตลอดวันและต้องการน้ำตลอดฤดูกาลปลูก


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
การเตรียมดิน
ควรมีการเตรียมดินให้ดีไถและยกร่องโดยใช้ผานยกร่อง ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ระยะระหว่างแปลง 0.5 หรือให้ขนาดแปลงตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ หว่านปูนขาวให้ทั่วทั้งแปลง (กรณีเป็นดินกรด) การเตรียมดินอาจมีการใส่ปุ๋ย 15-15-15 หว่านบนแปลงแล้วใช้โรตารี่ตีให้ทั่ว
การปลูก
ทำโดยการหยอดเมล็ดเป็นหลุมๆละ 2-3 เมล็ด ระยะระหว่างหลุม 15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร กลบด้วยดินผสมละเอียด หรือจะให้วิธีการหว่านเมล็ดแล้วค่อยถอนแยกออก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มคลุมด้วยฟางบางๆ เพื่อรักษาความชื้นในดิน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ จึงถอนแยกต้นกล้าออกจนเหลือ 1-2 ต้นต่อหลุม
การให้ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดทุกครั้ง การปลูกผักจะได้ผลดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการปรับสภาพทางกายภาพของดินให้ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากผักกาดกวางตุ้งเป็นผักที่มีอายุสั้น(ประมาณ 30 วัน) ดังนั้นถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ จึงแทบจะไม่ต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมเลย แต่ถ้าหากสังเกตเห็นว่าผักที่ปลูกไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร ขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร21-0-0 และ 15-15-15 ผสม อัตรา 1:1 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่หว่านแล้วรดน้ำตาม เมื่อมีอายุได้ 10 วัน
การให้น้ำ
ผักกาดเขียวกวางตุ้งต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ จึงต้องปลูกในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก หากขาดแคลนน้ำจะทำให้ผักชะงักการเจริญเติบโตและคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ในช่วงระยะที่เมล็ดเริ่มงอก ยิ่งขาดน้ำไม่ได้เลย วิธีการให้น้ำผัก คือ ใช้บัวฝอย หรือใช้เครื่องฉีดฝอยให้ทั่วและชุ่มรดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือตามความต้องการของผัก
การปฏิบัติดูแลรักษา
ผักกาดกวางตุ้งมีอายุการเก็บเกี่ยว 30-40 วัน ในส่วนของผักกาดเขียวกวางตุ้ง ใช้มีดตัดชิดโคน (ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป) แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้ง สำหรับกวางตุ้งดอกบางแห่งจะตัดเหลือต้นไว้พอสมควร เพื่อให้แตกออกมาใหม่สำหรับการเก็บครั้งที่สอง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ควรงดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วันโดยดูตามคำแนะนำที่ให้ไว้ในฉลากของสารเคมีนั้น

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน (20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแม็ค 20 ซี.ซี มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี



v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม + บาวี
ซาน อย่างละ 2 ช้อน/น้ำ 1ปี๊บถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน ใช้
เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วยนูริช 40 ซีซี.+
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Leaf blight ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
6. โรคราสนิมขาว - ส่วนมากจะเกิดกับผักบุ้ง สังเกตบนใบจะมีจุดสีเหลืองกลม พลิกดูใต้ใบจะพบตุ่มเป็น
( White rust ) นูนสีขาวอยู่ใต้บริเวณแผล ป้องกันกำจัดโดยใช้ บาวีซาน 3 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ Albugo candida

โรคของผักกาดกวางตุ้ง
1. โรคใบจุด (Leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora
อาการ มีจุดสีน้ำตาลบนใบ ถ้ามีการระบาดมากใบจะแห้งและร่วง พบมากในฤดูฝน ป้องกันได้โดยใช้ บาวีซาน อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วันและหมั่นกำจัดวัชพืชออกจากแปลง
2. โรคเน่าคอดิน (Damping off) เกิดจากเชื้อรา Pythium, Phytophthora, Fusarium, Rhizoctonia
อาการ โรคนี้เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น เกิดจากการหว่านเมล็ดแน่นทึบเกินไป ทำให้ต้นเบียดกันมาก หรือพื้นที่มีเชื้ออยู่แล้ว ต้นกล้าผักจะเกิดอาการเป็นแผลช้าที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับเหี่ยวแห้งและตายในเวลาอันรวดเร็ว บริเวณที่เป็นโรคจะขยายวงกว้างออกไปเป็นวงกลม ภายในวงกลมที่ขยายออกไปจะไม่มีต้นกล้าเหลืออยู่ในเนื้อที่ดังกล่าว กล้าที่โตแล้วจะค่อยๆเหี่ยวตาย ป้องกันได้โดยใช้สารโนมิวดิวอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรราดดินและฉีดพ่นใบ ป้องกันตั้งแต่ระยะแรกของการปลูก
3. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica
อาการ ใบเป็นจุดละเอียด รวมเป็นกลุ่มเล็กๆ สีขาวอมเทาอ่อนกระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างจะมีแผลก่อนแล้วและลามไปหาใบที่สูงขึ้นไป ต่อมาใบจะมีลักษณะเหลืองและร่วงหรือใบแห้ง โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้า ต้นกล้าจะเน่ายุบตายเป็นหย่อมๆ
การป้องกัน ให้ฉีดพ่นเทนเอ็ม 30 กรัมผสมกับโคไซด์ DF 10 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน
ในระยะต้นกล้าป้องกันด้วยเทนเอ็ม 30 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเดี่ยวๆ ไม่ควรผสมโคไซด์
4. แมลงศัตรูผัก
ผักกาดกวางตุ้งเป็นผักที่หนอนชอบมาก จึงควรดูแลเอาใจใส่ให้มากทุกๆวัน แมลงที่พบระบาดมีพวก หมัดกระโดด (Flea beetles, Phyllotreta sinuata) เพลี้ยอ่อน (Aphids, Lipaphis erysime) หนอนกระทู้ (Common cutworm, Common leafoworm, Spodoptera linura) หนอนใยผัก (Diamond-back moth, Plutella xylostella) หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm, Spodoptera exigua)
การป้องกันกำจัด พยายามใช้สารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พวกสารจุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) 60-100 ซีซี, ชอสแมค 40-60 ซีซี, น๊อคทริน 10% 30 ซีซี ใช้สลับกันฉีดพ่นทุก 4-7 วัน

พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูก
เขียวกวางตุ้งบางหลวง 006
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่มีขนาดกอใหญ่ แขนงน้อย ใบกลมรี-หนา มีสีเขียว ค่อนข้างมัน ก้านใบใหญ่ค่อนข้างสั้น เก็บผลผลิตได้เร็ว ปลูกได้ดีในทุกฤดู และทุกพื้นที่ ทนโรคและทนความร้อน
กวางตุ้งดอกเกสร 013
เป็นพันธุ์เจริญเติบโตไว เก็บเกี่ยวได้เร็ว (30 วัน) ต้นสีเขียวอ่อนขนาดใหญ่และมีแขนงมาก ให้น้ำหนักดี ใบกลมรี ช่อดอกเป็นกลุ่มใหญ่และสม่ำเสมอ ปลูกได้ตลอดทั้งปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น