หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักสลัด ผักกาดหอม

ผักสลัด (ผักกาดหอม/Lettuce) http://www.chiataigroup.com/

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactuca sativa
ชื่อสามัญ Lettuce
ข้อมูลทั่วไป
ผักกาดหอมเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Compositae มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป มีปลูกในประเทศไทยมาช้านาน ประโยชน์ของผักกาดหอมนอกจากจะใช้กินเป็นผักสด แล้วยังเป็นอาหารทางตาโดยนำมาตกแต่งอาหารให้มีสีสันสวยน่ารับประทาน
ชนิดของผักกาดหอม สามารถแยกได้ 3 ประเภท คือ
1. ผักกาดหอมห่อ เป็นผักกาดหอมที่มีใบห่อเป็นหัว ซึ่งเกิดจากใบเรียงซ้อนกันหนามาก สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิด

- ชนิดหัวแน่น ลักษณะใบบางกรอบเปราะง่าย เส้นกลางใบชัดเจน ใบห่อเป็นหัวแน่นคล้ายกะหล่ำปลี
- ชนิดห่อหัวไม่แน่น ลักษณะห่อเป็นหัวหลวมๆ ใบจะอ่อนนุ่มและผิวเป็นมัน ชอบอากาศเย็นและไม่ทนต่ออากาศร้อน
- ชนิดห่อหัวหลวมค่อนข้างยาว เป็นผักกาดหอมที่ใบห่อเป็นรูปกลมยาวหรือรูปกรวยลักษณะคล้ายผักกาดขาวปลี
2. ผักกาดหอมใบ ผักกาดหอมชนิดนี้ใบจะกว้างใหญ่มาก เจริญเติบโตทางด้านบนและด้านข้าง ไม่ห่อเป็นหัว ต้นเป็นพุ่มเตี้ยทนอากาศร้อนได้ดี แบ่งได้ 2 ชนิด
- ชนิดที่มีสีเขียวทั้งต้น
- ชนิดที่มีสีน้ำตาลทั้งต้น
3. ผักกาดหอมต้น ปลูกเพื่อใช้ลำต้นรับประทานมีลักษณะต้นอวบ ใบจะเกิดขึ้นต่อๆ กันไป จนถึงยอดหรือช่อดอก ใบจะเล็กหนาและเข้ม
สภาพอากาศที่เหมาะสม
ผักกาดหอมสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน ซึ่งมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี PH อยู่ระหว่าง 6.0-6.8 ความชื้นในดินพอสมควร พื้นที่ปลูกควรได้รับแสงเต็มที่ตลอดวันอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15.5-21 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ผักกาดหอมมีรสขม แทงช่อดอกเร็ว
การปลูก
การเพาะกล้า
การเพาะกล้าเหมาะสำหรับผักกาดหอมห่อ สำหรับผักกาดหอมใบนั้นไม่ต้องการเพาะกล้าจะหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง
การเพาะกล้าลงถาดเพาะกล้าโดยใช้ Peat Most 3 ส่วน Vermiculite 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในถาดเพาะขนาด 50 หลุม ให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกด รดน้ำให้ชุ่ม เจาะหลุมลึกประมาณ 1 มิลลิเมตร หยอดเมล็ดหลุมเละ1-2 เมล็ด แล้วกลบหลังจากเพาะเมล็ด 3-5 วัน ทำการซ่อมหลุมที่ไม่งอกโดยการย้ายต้นกล้าจากหลุมที่งอกมากกว่า 1 ต้นมาปลูกยังหลุมที่ไม่งอก ถ้าต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ค่อยดีควรรดปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใสบัวรด และรดน้ำตาม ควรให้ปุ๋ยในช่วงเย็น ระยะก่อนปลูก 3-5 วัน ควรให้น้ำน้อยลงเพื่อเตรียมต้นกล้าให้ปรับตัวในสภาพแปลง ควรพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืช 1 วันก่อนย้ายปลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูก
ถ้าพื้นที่มีสภาพดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาว 100-200 ก.ก.ต่อไร่ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 ก.ก./ไร่ แล้วพรวนด้วยจอบหมุน ยกแปลงกว้าง 1 เมตรร่องน้ำ 0.5 เมตร ปลูกแปลงละ 2 แถว ระยะห่างระหว่างต้น 40 ระหว่างแถว 40 เซนติเมตรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ย 15-15-15 ประมาณครึ่งช้อนชา
การย้ายกล้า
เมื่อต้นกล้าอายุได้ 25-30 วันควรทำการย้ายไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ควรย้ายกล้าเวลาบ่ายถึงเย็น กรณีเพาะลงแปลงเพาะกล้าควรให้มีดินติดรากมากที่สุด เมื่อปลูกเสร็จควรรดน้ำตามทันที

การปฏิบัติรักษา
การให้น้ำ
ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าอย่าให้น้ำเปียกแฉะเกินไป อย่าปล่อยให้ดินแห้งมากเกินไป จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตในระยะแรกควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ย
ช่วงต้นกล้าหากพบว่าไม่สมบูรณ์ให้ใส่ปุ๋ย 21-0-0 ละลายน้ำประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้บัวรดในช่วงเย็นและรดน้ำตาม หลังจากย้ายกล้า 7-10 วันรดน้ำปุ๋ย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 2 :1 จำนวน 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่ออายุ 25 วันและ 40 วันผสมอาหารเสริมออร์กามิน 30 ซีซี.และสารเร่งอโทนิค 3-5 ซีซี ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 โดยเจาะหลุมฝังระหว่างต้นประมาณ 5 กรัมและจะใส่ทุกๆสัปดาห์
การพรวนดิน
ระยะที่ผักยังเล็กอยู่ควรพรวนดินเพื่อให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี ควรพรวนดินพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชทุกๆสัปดาห์ เมื่อผักโตขึ้นการพรวนดินจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งพุ่มกว้างติดกัน จะพรวนดินเมื่อจำเป็นเท่านั้น
การเก็บเกี่ยว
ผักกาดหอมใบจะเก็บเกี่ยวประมาณ 40-50 วันผักกาดหอมห่ออายุเก็บเกี่ยวประมาณ 60-70 วัน และก่อนเก็บ
7 วันห้ามฉีดพ่นสารเคมี




ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซีซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 10 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 20 ซีซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน /
น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว +
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ

การป้องกันโรคและแมลง
1. โรคเน่าเละ เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia earotovora
อาการ เริ่มจากเกิดแผลเป็นรอยช้ำเล็กๆ เป็นจุดฉ่ำน้ำเมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยาย เนื้อเยื่อจะอ่อน ยุบตัวลงเน่าอย่างรวดเร็วมีเมือกเยิ้มและมีกลิ่นแรกมากผักจะเน่ายุบตายทั้งต้น การป้องกันทำได้โดย ควรให้น้ำพอเหมาะอย่าให้แฉะจนเกินไป ฉีดอาหารเสริมนูริช 30 ซีซี เป็นธาตุแคลเซียมโบรอน ทุก 7 วันตลอดฤดูปลูก และเมื่อพบต้นที่แสดงอาการควรถอนทิ้งและใช้ปูนขาวละลายน้ำราดใส่บริเวณที่ถอนต้นออกไป และเมื่อเริ่มมีอาการของโรคใช้โคไซด์ ดีเอฟ อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น 7 วันครั้ง จะหยุดโรคได้ โคไซด์ ดีเอฟใช้ผสม
นูริชฉีดพ่นพร้อมกันได้

2. โรคเน่าดำ เกิดจาก Xanthomonas campestris ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีความชื้นสูง อาการใบแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือเหลืองคล้ายสีทอง แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจะอาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะระบาดได้กว้างขวางเชื้อสามารถติดไปกับเมล็ดได้ ป้องกันได้โดยใช้ โคไซด์ดีเอฟ อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น 7วันครั้งจะหยุดโรคได้

แมลง
หนอนคืบกะหล่ำ
หนอนคืบจะเป็นหนอนที่กินจุโดยกัดกินใบและยอด
การป้องกัน โดยใช้มือจับทำลาย ถ้ามีระบาดมากจึงใช้ น๊อคทริน 10% 30 ซีซีผสมชอสแมค 20 ซีซี ฉีดพ่นทุก 7 วัน

ตารางการดูแลผักกาดหอม
วัน เดือน ปี
อายุพืช
(วันหลังย้ายกล้า)
งานที่ปฏิบัติ


เพาะกล้า และดูแลต้นกล้า


เตรียมแปลงปลูก
-หว่านปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ ปูนขาว 100-200 ก.ก.ต่อไร่ ก่อนการไถ
-ยกแปลงกว้าง 1 ม.
-พ่นยาคุมวัชพืช มอนโซ่ อัตรา 500 ซีซี.ต่อน้ำ 80 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
-ขุดหลุมปลูกบนแปลงที่เตรียมไว้ แปลงละ 2 แถว ระยะ 40 x 40 ซม.


ย้ายปลูกเมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 25-30 วัน โดยรดน้ำในหลุมก่อนปลูกในกรณีที่แปลงปลูกแห้ง และรดน้ำตามทันทีหลังย้ายกล้า

5
-รดปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:2 จำนวน 100 g + มามิโกร 12-9-6 30 ซี.ซี. + ออร์กามิน 30 ซี.ซี. + อโทนิค 3-5 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 2 ใช้ น็อคไดน์ 30 ซี.ซี. + สเปโต 20 ซี.ซี. + เทนเอม 20 ซี.ซี. + เบสมอร์ 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

25
-รดปุ๋ยครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:2 จำนวน 100 กรัม + มามิโกร 12-9-6 30 ซี.ซี. + ออร์กามิน 30 ซี.ซี. + อโทนิค 3-5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
-ฝังปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 โดยเจาะหลุมฝังห่างจากต้น 15-20 ซม. หลุมละ 15 กรัม
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 3 ใช้น็อกไดน์ 30 ซี.ซี. + สเปโต 20 ซีซี. + บาวีซาน 20 ซี.ซี. + เบสมอร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

35
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 4 ใช้สกาย 20 g + เทนเอม 20 g พอสซ์ 30 ซีซี+เบสมอร์ 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

40
ฝังปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 โดยเจาะหลุมฝังห่างจากต้น 15-20 ซม. หลุมละ 15 กรัม

45
-พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ครั้งที่ 5 ใช้ซูมิไซดริน 10 ซีซี + บาวีซาน + เบสมอร์ 5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น