หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักคะน้า

ผักคะน้า (Chinese kale)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleraceae alboglabra
ชื่อสามัญไทย : ผักคะน้า
ชื่อสามัญอังกฤษ : Chinese kale
http://www.chiataigroup.com/

ข้อมูลทั่วไป
ผักคะน้าเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล (family) Cruciferae สำหรับผักคะน้าที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 ประเภท คือ
· ผักคะน้าใบ มีลักษณะต้นอวบใหญ่ค่อนข้างสั้น ก้านเล็ก ใบกลมหนาค่อนข้างหยิก กรอบ ทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดีดอกมีสีเหลือง
· ผักคะน้ายอด, ผักคะน้าก้าน หรือคะน้าต้น มีลักษณะต้นอวบใหญ่ยาว มีดอกสีขาว ใบยาวแหลม ก้านใหญ่ มีรสอร่อยมีความต้านทางโรค ทนต่อความร้อนและความชื้นได้ดี
ผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นจะนิยมบริโภคพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน เกษตรกรที่ปลูกคะน้า สำหรับขายจึงควร
เลือกปลูกพันธุ์ตามความนิยมของตลาด บางท้องถิ่นอาจชอบพันธุ์ผักคะน้ายอด การเลือกปลูกให้ถูกพันธุ์จะทำให้ไม่มีปัญหาในเวลาขาย โดยทั่วไปในตลาดส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคคะน้ายอดมากกว่าคะน้าใบ เนื่องจากมีใบที่บางกว่า ไม่แข็งเหมือนคะน้าใบ ส่วนคะน้าใบจะใช้ปลูกในพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกคะน้ายอดได้ เช่น พื้นที่ที่มีอากาศเย็นเพราะคะน้ายอดจะออกดอกก่อนที่ต้นจะโตเต็มที่

ผักคะน้าปลูกได้ทั้งในดินร่วน ดินเหนียว หรือดินทรายที่เพิ่มธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่
ย่อยสลายดีแล้ว ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปีในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ในการปลูกคะน้า คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม-เมษายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนพฤศจิกายน-มกราคม จะปลูกได้ผลดีที่สุด แต่ก็เป็นช่วงที่ผักคะน้ามีราคาต่ำที่สุดด้วย เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ยกเว้นในกรณีที่บางแหล่งประสบภัยธรรมชาติ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เช่น น้ำท่วม ราคาก็จะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน แต่อาจจะประสบปัญหาบ้างเช่น ขาดน้ำ หรือมีปัญหาโรคและแมลงรบกวนมาก หรือปัญหาฝนตกหนักทำให้ดินแน่นผักไม่เจริญเติบโต แต่ราคาขายจะดีกว่ามาก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
การเตรียมดิน
ดินที่เหมาะสำหรับปลูกผักคะน้าควรมีค่า PH ระหว่าง 5.5-6.8 และหากดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตราที่สอดคล้องกับสภาพดินในแต่ละที่ ดินที่ใช้ปลูกผักคะน้าควรขุดพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตรที่ไม่ต้องขุดลึกมากนักเพราะระบบรากของผักคะน้าไม่ลึกนัก ขุดพลิกแล้วตากดินไว้ 7-10 วันแล้วย่อยพรวนเป็นก้อนเล็กๆ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วในอัตรา 1 ตัน/ไร่ และปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ลงคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
การปลูก
การปลูกผักคะน้าคล้ายกับผักกาดกวางตุ้ง จึงปลูกได้โดยวิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงได้เลย วิธีการหว่านเมล็ดมีอยู่ 2 แบบคือ การหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั่วๆแปลง และวิธีโรยเมล็ดแบบเรียงเป็นแถว ซึ่งจะเลือกวิธีปลูกแบบไหนขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ของแปลงที่จะปลูกหรือความสะอาดในการทำงานของเกษตรกรเอง
· แบบหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วๆแปลง การหว่านเมล็ดให้กระจายได้ทั่วๆ ต้องอาศัย
ความชำนาญในการหว่าน วิธีนี้เหมาะสำหรับแปลงปลูกแบบยกร่องมีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งขนาดของร่องแปลงผัก กว้าง 5-6 เมตร เมื่อเตรียมดินแล้วจะต้องปูฟางข้าวลงบนแปลงเสียก่อน แล้วจึงหว่านเมล็ดแล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม การหว่านแบบนี้ใช้เมล็ดพันธุ์เปลืองพอสมควร คือ ใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ไร่
· แบบโรยเมล็ดเรียงเป็นแถว เหมาะสำหรับแปลงที่ยกร่องแปลงธรรมดา ขนาดของแปลงกว้างประมาณ
1 เมตร ร่องน้ำทางเดิน 0.5 เมตร เมื่อเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว โรยเมล็ดให้ห่างกันพอสมควร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร เสร็จแล้วกลบดินบางๆปูฟางข้าวคลุมบนแปลงแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การหว่านแบบนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 800 กรัม/ไร่
เมื่อผักสูงได้ประมาณ 10 เซนติเมตร หรืออายุ 15 วัน ให้เริ่มทำการถอนแยกครั้งแรกเลือกต้นกล้าที่ไม่
สมบูรณ์ออกเหลือระยะห่างระหว่างต้นไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของผักคะน้าในวัยนี้เด็ดรากออกแล้วสามารถขายสู่ตลาดได้ และเมื่อต้นผักมีอายุ ประมาณ 25 วันก็ทำการถอนแยกครั้งที่สองให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ต้นผักคะน้าที่ถอนแยกออกมาในระยะนี้นำมาตัดรากออกส่งขายตลาดได้อีกเช่นกัน ผู้บริโภคนิยมรับประทานเป็นยอดผักเพราะอ่อนและอร่อย ในการถอนแยกผักคะน้าแต่ละครั้งควรทำการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย
การปฏิบัติดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
การปลูกผักคะน้าหรือผักใดๆก็ตามควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและสูตรรองพื้น ก่อนหว่านเมล็ดทุกครั้ง การปลูกผักจะได้ผลดีมากขึ้น เพราะผักจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่ได้อย่างเต็มที่กว่า โดยจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1 ตัน/ไร่ ส่วนปุ๋ยสูตรแนะนำให้ใช้ตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หากสังเกตว่าผักที่ปลูกไม่ค่อยเจริญเติบโตอาจจะใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต เช่น ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ หว่านแล้วรดน้ำตาม
การให้น้ำ
ผักคะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ดังนั้นการปลูกผักคะน้า จึงต้องปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาล หากขาดแคลนน้ำจะทำให้ผักชะงักการเจริญเติบโตและคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ในช่วงที่ระยะเมล็ดเริ่มงอกยิ่งขาดน้ำไม่ได้เลย วิธีการให้น้ำผักคือใช้บัวฝอยรดน้ำวันละ 2 เวลาเช้า-เย็นหรือตามที่พืชต้องการ
การเก็บเกี่ยว
ผักคะน้าสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เล็กๆ ที่เรียกว่าลูกผัก โดยได้จากการถอนแยกครั้งแรก และการถอนแยกครั้งที่สอง ส่วนผักคะน้าที่โตเต็มที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุด 45-55 วัน ใช้มีดตัดชิดโคน (ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป) แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้ง เมื่อตัดแล้วบรรจุในภาชนะ เพื่อให้ในการขนส่งเข้าสู่ตลาดต่อไป
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วันโดยดูตามคำแนะนำที่ให้ไว้ในฉลากของสารเคมีนั้นๆ

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
คะน้า

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน (20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแม็ค 20 ซี.ซี มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม + บาวี
ซาน อย่างละ 2 ช้อน/น้ำ 1ปี๊บถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
ใช้เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิวดิว+ ( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วยนูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Leaf blight ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
6. โรคราสนิมขาว - ส่วนมากจะเกิดกับผักบุ้ง สังเกตบนใบจะมีจุดสีเหลืองกลม พลิกดูใต้ใบจะพบตุ่มเป็น
( White rust ) นูนสีขาวอยู่ใต้บริเวณแผล ป้องกันกำจัดโดยใช้ บาวีซาน 3 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ Albugo candida

การป้องกันโรคและแมลง
1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica อาการเกิดตั้งแต่ระยะกล้าใบเลี้ยงจะ
เป็นจุดช้ำ ยุบตายเป็นหย่อมๆ บนใบจะเกิดเป็นจุดเล็กๆ สีเทาเป็นกลุ่มๆกระจายทั่วไป ใต้ใบจะมีเส้นใยสีขาวเกาะอยู่ เมื่อโรคขยายมากขึ้นใบจะเหลืองกรอบแห้งโดยเริ่มเป็นจากใบล่างการป้องกันโดย ให้ฉีดพ่นเทนเอม 30 กรัม + โนมิลดิว 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 7 วัน หรือใช้สารลอนมิเนตอัตรา 10-20 กรัมผสมน้ำฉีดพ่นใบ
2. โรคใบจุด (Leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora อาการ มีจุดสีน้ำตาลบนใบ ถ้ามีการระบาดมากใบจะแห้งและ
ร่วงพบมากในฤดูฝน โดยเฉพาะแปลงที่มีหญ้ารก ป้องกันได้โดยใช้ บาวีซาน 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ 7 วันครั้ง
3. โรคใบจุดจากเชื้อ Alternaria sp. เป็นจุดเล็กๆ บนต้นกล้าที่งอกใหม่และเน่าตาย ระยะต้นโตจะเป็นจุดเล็กๆบน
ใบ และขยายเป็นวงกลมสีน้ำตาลซ้อนๆกัน วงนอกเป็นสีเหลือง ต่อมาใบจะกรอบพบมากในฤดูฝน ป้องกันได้โดยใช้เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม ฉีดพ่นป้องกันตั้งแต่ระยะกล้า ตลอดฤดูปลูก 7 วันครั้ง
4. แมลงศัตรูคะน้า ผักคะน้าเป็นผักที่หนอนชอบมาก จึงควรดูแลเอาใจใส่ให้มากทุกๆวัน แมลงที่พบระบาดมากมีพวก หมัดกระโดด (Flea beetles, Phyllotreta sinuata), เพลี้ยอ่อน (Aphids, Lipaphis erysime), หนอนกระทู้ผัก (Common cutworn, Common leafworm, Spodoptera litura), หนอนใยผัก (Diamond-back moth, Plutellaxylostella), หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm, Spodoptera exigua) การป้องกันกำจัด โดยใช้สารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พวกบาซิลลัส ทูริงเยนซิส 60-100 ซีซี, ชอสแมค 40-60 ซีซี, น๊อคทริน 10% 30 ซีซี ใช้สลับกันฉีดพ่นทุก 4-7 วัน แล้วแต่ชนิดของแมลง
พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูก
คะน้าลูกผสมไอริส 012
เป็นพันธุ์ที่โตเร็วและสม่ำเสมอ ทนโรคใบแหลมหนาใหญ่สีเขียวเข้มสีนวล ก้านใบไม่กาง ลำตัวอวบใหญ่ ออกดอกช้า อายุเก็บเกี่ยว 40-53 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น