หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี cabbage
http://www.chiataigroup.com/
ข้อมูลทั่วไป
เป็นผักที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในตลาดบ้านเรามีการปลูกทั้งในสวนครัวหลังบ้านและปลูกเป็นการค้า เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบอาหารได้หลายประเภทรับประทานสดหรือทำให้สุกก่อนก็ได้ กะหล่ำปลีชอบอากาศหนาว ความชื้นสูงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 7.2-29.4 องศาเซลเซียส และไม่เกิน 37.7 องศาเซลเซียส ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกมากที่สุด คือ เดือนตุลาคม – มกราคมแต่ในระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน พอจะปลูกได้โดยใช้พันธุ์เฉพาะและปลูกในแหล่งที่มีอากาศเหมาะสมเช่น ในภาคเหนือของไทย
พันธุ์ที่ใช้แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว : พันธุ์หนักอายุเก็บเกี่ยว 90-120 วัน, พันธุ์กลางอายุเก็บเกี่ยว 80-90 วัน,

พันธุ์เบาอายุเก็บเกี่ยว 70-80 วัน
การเตรียมดิน
ไถพริกหน้าดินครั้งแรกตากแดดไว้ประมาณ 15-20 วันถ้าดินมีสภาพเป็นกรดควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ หว่านปุ๋ยตรากระต่ายอัตรา 50-80 กิโลกรัม/ไร่ และใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ แล้วไถพรวนครั้งที่ 2 พร้อมยกร่องขึ้นแปลงปลูกแปลงกว้าง 1 เมตรร่องน้ำ 0.5 เมตรระยะปลูกพันธุ์หนักระหว่างต้น 50 ซม. พันธุ์เบา 40 ซม. ปลูกแปลงละ 2 แถวพ่นยาคลุมก่อนย้ายกล้า
การเพาะกล้า
ควรเพาะในถาดเพาะกล้าโดยเจาะหลุมลึกประมาณ 1 ซม. หยอดเมล็ดแล้วกลบรดน้ำให้ชุ่มควรเพาะในโรงที่มีหลังคาป้องกันฝนได้หลังจากเพาะเมล็ด 4-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกช่วงนี้ควรดูแลเรื่องน้ำอย่าให้แห้งแล้ว จากต้นกล้างอกแล้วถ้าเจริญเติบโตไม่ดีให้ลดปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เมื่อลดปุ๋ยควรให้น้ำตามทุกครั้ง เพื่อป้องกันใบไหม้และควรดูแลเรื่องน้ำอย่าให้แห้งหรือแฉะเกินไป
การย้ายกล้า
ย้ายเมื่อต้นกล้าอายุ 25-30 วันควรย้ายในตอนเย็นหรือช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก เมื่อย้ายเสร็จควรรดน้ำให้ชุ่ม และดูแลเรื่องน้ำหลังย้ายกล้าใหม่ๆ ให้ดีอย่าให้แห้งหรือแฉะเกินไป
การให้ปุ๋ย
หลังย้ายกล้าประมาณ 1 สัปดาห์รดด้วยปุ๋ยผสมระหว่าง 21-0-0 และ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรต้นละประมาณ 100 ซีซี. และรดน้ำตามทุกครั้งหลังจากรดปุ๋ยเพื่อป้องกันใบไหม้และจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ให้ปุ๋ย 15-15-15 โดยการเจาะหลุมฝังกลบอัตราส่วนต้นละ 10 กรัมโดยเจาะระหว่างต้น
การพรวนดิน
ควรพรวนทุกสัปดาห์ เพื่อให้ดินระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ควรทำอย่างระมัดระวังอย่าให้ต้นกล้าเกิดแผลเพราะจะทำให้เน่าเสียหายได้ระหว่างพรวนดิน ควรกำจัดวัชพืชไปด้วย

การเก็บเกี่ยว
จะเก็บเกี่ยวตามอายุของสายพันธุ์แต่ถ้าถึงอายุแล้วต้องเก็บเกี่ยวทันทีไมีควรให้เลยอายุเพราะจะทำให้ได้รับความเสียหายจากการระเบิดของหัว

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซีซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มออกดอก เทนเอ็ม 3 ช้อน นูริช 40 ซีซี.
(กะหล่ำดอก) บาวีซาน 2 ช้อน อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 20 ซีซี.
กรณี กะหล่ำดอกใช้มามีโกร 6-32-35 3 ช้อน
ถ้าเป็น กะหล่ำปลี, กะหล่ำปม, บร็อคโดลี่ ใช้มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ข้อแนะนำ : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1.ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม + บาวี
ซาน อย่างละ 2 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ ถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
ใช้เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2.ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3.โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วยนูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4.โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Tip burn ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5.โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ

ตารางการปฏิบัติงาน
วันหลังย้ายกล้า
การปฏิบัติงาน
0
เตรียมอุปกรณ์เพาะกล้า
0
เพาะเมล็ดและรดน้ำให้ชุ่ม พ่นยาคลุมหญ้าในแปลงก่อนย้ายกล้า
5
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง เทนเอม 20 g + สเปโต 20 cc + น็อคโดน์ 20 cc + เบสมอ 10 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ดูแลเรื่องน้ำให้แปลงมีความชื้นตลอดเวลาอย่าให้แปลงแห้งหรือแฉะเกินไป
7
รดปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 50 กรัม + อโทนิค 5cc+มามิโกร 30cc+ออร์กามิน 20cc. ต่อน้ำ 20 ลิตร
14
กำจัดวัชพืช พรวนดิน
15
รดปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม+อโทนิค 5 cc+มามิโกร 30cc+ออร์กามิน20cc.ต่อน้ำ 20 ลิตรหลังให้ปุ๋ยรดน้ำตามทุกครั้ง
17
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง เทนเอ็ม20g+สเปโต20cc.+น็อคไดน์20cc+เบสมอ10 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร
22
ฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15+21-0-0 อัตรา 1:1 ระหว่างต้น 5 กรัม/ต้นให้น้ำตามร่อง
25
กำจัดวัชพืช พรวนดิน
28
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง เทนเอ็ม20g +สเปโต20cc+น็อคไดน์20cc+เบสมอ 1cc ต่อน้ำ 20 ลิตร
35
ฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15+21-0-0 อัตรา 1:1 ระหว่างต้น 5 กรัม/ต้นให้น้ำตามร่อง
37-50
50-80
กำจัดวัชพืช พรวนดินดูแลเรื่องน้ำยาอย่าให้แปลงแห้งหรือแฉะเกินไป
เก็บเกี่ยวผลผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น