หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกข้าวโพดหวาน

ข้าวโพดหวาน SWEET CORN http://www.chiataigroup.com/
ข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐอเมริกามาช้านาน แต่ในเขตเอเชียและแปซิฟิกนี้ข้าวโพดหวานปลูกกันมากในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลียและไทยแต่พื้นที่ปลูกไม่มากนักเมื่อเทียบกับอเมริกา
การที่ข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจของอเมริกาได้เพราะว่ามีอุตสาหกรรมแปรรูปรองรับอยู่คือ บรรจุกระป๋องในรูปเมล็ดข้าวโพด ครีมข้าวโพดและแช่แข็งทั้งฝักและเมล็ด อเมริกาเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเหล่านี้ไปยังยุโรป ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆเกือบทั่วโลก
ในประเทศไทยข้าวโพดหวานมีปลูกกันอยู่ทั่วไป แต่พื้นที่เพราะปลูกไม่มากนักส่วนมากจะปลูกรับประทานฝักสด แต่ปัจจุบันได้มีบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องเกิดขึ้นทำให้แนวโน้มการปลูกข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นและจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้หน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆทำการค้นคว้าวิจัยข้าวโพดหวานที่เหมาะสมกับการปลูกในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวาน
ภาคเหนือ สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน
ภาคอีสาน ทุกจังหวัด
ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ระยอง
ภาคตะวันตก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี
ภาคใต้ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี สงขลา ยะลา สตูล ตรัง

บริษัทเจียไต๋ ได้มีการปรับปรุงวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานอยู่สองลักษณะคือ
1.ฝักใหญ่ จะเน้นขนาดฝักขนาดเมล็ดตลาดผู้บริโภคคือผู้มีรายได้น้อยเน้นปริมาณปัจจุบันเรามีข้าวโพดF1 hybrid ที่ออกมาแนะนำและทดลองตลาดอยู่1เบอร์คือ GONDOLA 021
2.ฝักคุณภาพขนาดปานกลางเมล็ดและสีสวย ความหวานสูง เมล็ดนุ่มไม่ติดฟัน ติดเมล็ดเต็มปลายฝัก
ตลาดผู้บริโภคคือชลชั้นกลาง คนรวยจะเน้นคุณภาพปัจจุบันเรามีข้าวโพด F1 hybrid ที่ออกมาแนะนำ
และทดลองตลาดอยู่1เบอร์คือ SWEET NICE 005




ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ข้าวโพดหวาน
ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มเป็นใบจริง โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
เริ่มออกดอก เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 10-52-17 3 ช้อน
นูริช 30 ซีซี.
เริ่มติดฝัก เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 6-32-35 3 ช้อน
น๊อคทริน 10% 10 ซีซี. นูริช 40 ซีซี.
พร้อมใส่ปุ๋ยทางดิน 8-24-24
¨ การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. โรคราน้ำค้าง ใช้เทนเอ็ม + โนมิลดิว อย่างละ 2 ช้อน
( Downy mildew )
2. หนอนเจาะฝัก ใช้น๊อคทริน 30 ซีซี. + เบสมอร์ 5 ซีซี. ถ้าไม่ระบาดมากใช้
ดี.ซี.ตรอนพลัส 30 ซีซี. + ชอสแมค 5 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

โรคและแมลงที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
โรคที่สำคัญมีด้วยกัน 5 โรคคือ
1.โรคราน้ำค้าง DOWNY MILDEW
2.โรคใบไหม้แผลเล็ก SOUTHERN CORN LEAF BLIGHT
3.โรคใบไหม้แผลใหญ่ NORTHERN CORN LEAF BLIGHT
4.โรคราสนิม RUST
5.โรคราเขม่าดำ SMUT
ในบรรดาโรคต่างๆดังกล่าวพบว่าโรคราน้ำค้างทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุดโดยข้าวโพดจะแสดงการเป็นโรค 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้าจะเกิดอาการมีจุดสีขาวหรือเหลืองพบบนใบเลี้ยงและใบจริง2-3ใบแรกต่อจากนั้นจุดจะขยายออกเป็นทางสีขาวลามไปยังฐานใบส่วนระยะที่2จะเกิดจากใบอ่อนทีเกิดใหม่ๆในระยะข้าวโพดเริ่มโตแล้วความเสียหายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการระบาด


โรคราน้ำค้าง DOWNY MILDEW
อาการ ทางลายสีขาวบนใบเกิดขึ้นระยะต้นอ่อนและต้นกล้า สาเหตุการแพร่ระบาด ใบข้าวโพดที่เป็นโรคและพืชอาศัย ป้องกันกำจัดโดยใช้พันธุ์ต้านทานหรือใช้เอพรอน35เอสดี ทำลายพืชอาศัย

โรคใบไหม้แผลเล็ก SOUTHERN CORN LEAF BLIGHT
อาการ รอยแผลไหม้บนใบขนานกับเส้นใบอาจกลายเป็นแผลใหญ่ การแพร่กระจาย ติดไปกับเมล็ดตกค้างในดิน ปลิวไปตามลม ป้องกันกำจัดโดยใช้พันธุ์ต้านทาน กำจัดพืชที่เป็น พืชอาศัย ใช้สารเคมี

โรคใบไหม้แผลใหญ่ NORTHERN CORN LEAF BLIGHT
อาการ รอยแผลใหญ่เกิดกับใบล่างๆก่อน การแพร่กระจาย ติดไปกับพืชโดยลม ป้องกันกำจัดโดย หลีกเลี่ยงปลูกในพื้นที่ระบาด ใช้พันธุ์ต้าน ใช้สารเคมี

โรคราสนิม RUST
อาการ มีตุ่มแผลทั้งทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ แผลเป็นสีสนิมและเป็นผงคล้ายสนิม การแพร่กระจายโดยเชื้อติดไปกับใบพืชและลม ป้องกันกำจัดโดยเผาทำลายซากพืช ใช้สารเคมี ใช้พันธุ์ต้านทาน

โรคราเขม่าดำ SMUT
อาการ เชื้อราจะสร้างปมสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีดำพบบริเวณปลายฝักและช่อดอกตัวผู้ การแพร่ระบาดโดยปลิวตามลมและเข้าทำลายได้ง่ายโดยเฉพาะแผลที่เกิดกับข้าวโพด ป้องกันกำจัดโดยเผาทำลายต้นที่เป็น ป้องกันไม่ให้ต้นเกิดแผล งดปลูก 1-2 ปี

แมลงที่สำคัญศัตรูของข้าวโพดหวานมี 4 ชนิดคือ
1. มอดดินหรือมอดช้าง GROUND WEEVIL การระบาดทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและต้นอ่อน การป้องกันโดยใช้ยาคลุกเมล็ดหรือโรยเมื่อข้าวโพดงอก(ฟูราดาน)
2. หนอนกระทู้หอม BEET ARMYWORM การระบาดทำลาย กัดกินใบตั้งแต่งอกได้ 3-5 วันถึงอายุ 3 สัปดาห์ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี ใช้คนทำลาย
3. หนอนเจาะลำต้น CORN BORER การระบาดทำลาย เจาะลำต้นบางครั้งเจาะฝักทำให้เสียคุณภาพ ป้องกันกำจัดโดยใช้พันธุ์ต้านทาน ใช้สารเคมี ไม่ปลูกพืชซ้ำกันหลายปี
4. หนอนเจาะฝัก CORN EARWORM การระบาดทำลาย กัดกินไหมและเจาะเข้าไปในปลายฝัก ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี, ใช้คน


การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดเก็บฝักสด
อายุ(วัน)
การปฏิบัติงาน
ลักษณะของต้นพืช
0
ไถพลิกหน้าตากแดดทิ้ง 1 เดือน ใส่ปุ๋ยคอก ปูนขาว

0
ไถพรวนดินละเอียดพอสมควร ยกร่อง เตรียมแปลงปลูก

1-7
หยอดเมล็ด 3 เมล็ดต่อหลุม ให้น้ำ พ่นยาคุมมอนโซ อัตรา 750 ซีซี.ต่อน้ำ 80 ลิตร
ต้นกล้าเริ่มรอกใต้ผิวดินและจะแทงพ้นผิวดินในวันที่ 4-7
7-15
ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม พร้อมขุดร่องใส่ปุ๋ยแบบฝังกลบ ครั้งแรก สูตร 13-13-21 อัตรา 7 กรัมต่อต้น แล้วให้น้ำตาม
ข้าวโพดมีใบจริง 4-5 ใบ
15-25
กำจัดวัชพืช พูนโคนป้องกันต้นล้ม ให้น้ำถ้าแปลงมีความชื้นน้อย
ข้าวโพดมีใบจริง 7-8 ใบ
25-40
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 อัตรา 5 กรัม/ต้นดูแลเรื่องหญ้าและให้น้ำถ้าแปลงมีความชื้นน้อย
ข้าวโพดมีใบจริง 8-10 ใบ เริ่มสร้างช่อดอกและพัฒนาฝัก
40-55
เริ่มนับไหมบานในต้นที่ไหมเริ่มโผล่ออกมาโดย
นับ75%ของปริมาณต้นทั้งหมดและนับหลังจากไหมบาน75%ไปอีก18-22วันจึงจะสามารถเก็บผลผลิตฝักสดได้
ดอกและไหมเริ่มบานข้าวโพดเริ่มพัฒนาฝักใหญ่ขึ้นไหมที่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นเมล็ด
60-85
เก็บผลผลิตฝักสด
ข้าวโพดพัฒนาฝักและเมล็ดโตเต็มที่สามารถรับประทานฝักสดได้
หมายเหตุ
1.ข้าวโพด bicolor ควรปลูกห่างจากข้าวโพดหวานสีเหลืองพอสมควรอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า150เมตรเพราะถ้าได้รับปริมาณละอองของข้าวโพดหวานสีเหลืองมากเกินไปจะทำให้การแสดงออกของเมล็ดสีขาวในฝักมีน้อย
2.ข้าวโพดwaxyควรปลูกหลังข้าวโพดหวานและbicolor 25-30วันเพราะถ้าปลูกพร้อมกันจะทำให้ละอองเจอกันทำให้ข้าวโพดหวานและbicolorกลายเป็นข้าวโพดไร่ทันทีหรือปลูกพร้อมกันแต่ให้ห่างจากข้าวโพดหวานและbicolorอย่างน้อย 1 กิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น