หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี (Chinese cabbage) http://www.chiataigroup.com/

ผักกาดขาวปลี (Chinese cabbage) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassical pekinensis
ข้อมูลทั่วไป
ผักกาดขาวปลีเป็นพืชถือกำเนิดในตอนเหนือของประเทศจีน จากนั้นก็มีการแพร่กระจายออกไปสูประเทศในแถบเอเชีย โดยมีเส้นทางสำคัญ 2 สายคือ ทางตะวันออก มีเส้นทางแพร่กระจายไปสู่ประเทศเกาหลี แล้วแพร่กระจายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นเส้นทางแพร่กระจายผ่านภาคกลาง แล้วลงสู่ภาคใต้ของประเทศจีน จากนั้นเข้าไปสู่ไต้หวันและเผยแพร่ไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดแหลมอินโดนีเซีย ซึ่งได้แก่ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เมื่อตอนก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย
ปัจจุบันผักกาดขาวปลีได้ถูกพัฒนาพันธุ์ขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละประเทศ แต่ละท้องถิ่น โดยรักษาให้มีคุณภาพดีและผลผลิตสูง

ผักกาดขาวปลีเป็นพืชในตระกูลกะหล่ำ (Cruciferae Family) เป็นพืชอายุปีเดียว (Annual crop) มีระบบรากตื้น ใบมีลักษณะห่อปลียาวหรืออาจห่อหลวมขึ้นอยู่กับพันธุ์ มีสีขาวถึงเขียวอ่อน เป็นพืชวันยาว (Long plant) ผักกาดขาวปลีส่วนใหญ่มีการผสมข้ามโดยแมลงและผึ้ง
พันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย จำแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
1. พวกพันธุ์หนัก อายุการเก็บเกี่ยว 50 วัน การห่อหัวแน่น
2. พวกพันธุ์ #1 อายุการเก็บเกี่ยว 40 วัน การห่อตัวไม่ค่อยแน่นเท่าพันธุ์หนัก
3. พวกพันธุ์เบา อายุการเก็บเกี่ยว 35-40 วัน
วิธีการปลูก
การเตรียมดิน
ถ้าดินมีสภาพเป็นกรดควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ก่อนการไถพรวน การไถครั้งแรกควรเป็นการไถพลิกดิน แล้วตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเป็นการลดปริมาณวัชพืช ทำการหว่านปุ๋ยตรากระต่าย 15-15-15 อัตรา 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ แล้วใช้จอบหมุนพรวนกลบ (ไม่ควรไถพรวนดินแตกย่อย เพราะจะทำให้ดินแน่นในภายหลัง รากพืชจะไม่สามารถหยั่งได้ลึกเพียงพอ) ยกแปลงกว้าง 1 เมตร ร่องน้ำ 0.5 เมตรปลูกแปลงละ 2 แถวระยะระหว่างต้น 40 ซม. สำหรับพันธุ์หนักและพันธุ์ #1 ส่วนพันธุ์เบาให้ปลูก 3 แถวระยะ 30 ซม.
การเพาะกล้า
วิธีหยอดเมล็ดเจาะหลุมปลูกลึกประมาณ 1 ซม. หยอดเมล็ดแล้วกลบ รดน้ำให้ชุ่ม ควรทำหลังคาป้องกันฝน หลังจากเพาะเมล็ด 5 วันเมล็ดจะเริ่มงอก ถ้าต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ดีให้รดด้วยปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อรดน้ำปุ๋ยเสร็จควรรดน้ำล้างใบเพื่อป้องกันใบไหม้ การรดน้ำ ควรรดน้ำให้พอเหมาะไม่แห้งหรือแฉะเกินไป
การย้ายกล้า
เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 25-30 วันควรทำการย้ายปลูก ควรย้ายในช่วงเย็น (ช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก) เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำตามให้ชุ่ม การรดน้ำในควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอแต่ต้องไม่แฉะ (วันละ 1-2 ครั้ง)
การใส่ปุ๋ย
หลังย้ายกล้าประมาณ 1 สัปดาห์รดด้วยปุ๋ยผสมระหว่างสูตร 21-0-0 และ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ต้นละ 100 ซีซี. (หลังการรดปุ๋ยทุกครั้งควรล้างใบด้วยน้ำเพื่อป้องกันการไหม้ของใบ) จากนั้น 1 สัปดาห์ รดน้ำด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 1 สัปดาห์ให้เจาะหลุมทำการฝังปุ๋ยผสมระหว่างสูตร 21-0-0 และ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 10 กรัม โดยเจาะระหว่าง
การพรวนดิน
ควรพรวนดินทุกสัปดาห์เพื่อให้ระบายน้ำและอากาศดี แต่ไม่ควรให้โดนใบเพราะจะเป็นแผล และทำให้เน่าได้ง่าย การพรวนดินควรกำจัดวัชพืชไปด้วย
การเก็บเกี่ยว
ผักกาดขาวปลีการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรให้เลยอายุเก็บเกี่ยว เพราะจะทำให้แทงช่อดอก

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ผักกาดขาวปลีเบา

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน (20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแม็ค 20 ซี.ซี มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
คำเตือน : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม +
บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน/น้ำ 1ปี๊บถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อน
กันใช้ เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วยนูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Leaf blight ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
6. โรคราสนิมขาว - ส่วนมากจะเกิดกับผักบุ้ง สังเกตบนใบจะมีจุดสีเหลืองกลม พลิกดูใต้ใบจะพบตุ่มเป็น
(White rust) นูนสีขาวอยู่ใต้บริเวณแผล ป้องกันกำจัดโดยใช้ บาวีซาน 3 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ
Albugocandida

ตารางการใช้อาหารเสริมและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ผักกาดขาวปลีพันธุ์หนัก

ช่วงเวลาปลูก การใช้สารเคมี การใช้อาหารเสริม
* อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร * อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร
เริ่มปลูก ใช้โนมิลดิว อัตรา 2 ช้อน /น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ต้นเน่า
เริ่มแตกใบ โคไซด์ 2 ช้อน(20 กรัม) ออร์กามิน 30 ซีซี.
เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) นูริช 30 ซีซี.
โนมิลดิว 2 ช้อน(20 กรัม) มามีโกร 12-9-6 30 ซีซี.
ชอสแมค 10 ซี.ซี.
ดี.ซี. ตรอนพลัส 20 ซี.ซี.
เริ่มเป็นใบจริง เทนเอ็ม 3 ช้อน(30 กรัม) นูริช 40 ซีซี.
บาวีซาน 2 ช้อน(20 กรัม) อโทนิค 5 ซีซี.
ชอสแมค 20 ซี.ซี. มามีโกร 21-21-21 3 ช้อน
ข้อแนะนำ : แนะนำให้ใช้ผ้าใยสังเคราะห์สปันบอนของเจียไต๋ คลุมแปลงป้องกันแมลงตัวเล็กๆได้ดี

v การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย
( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยถ้าเกิดจากเชื้อ Gercosporaใช้ เทนเอ็ม + บาวี
ซาน อย่างละ 2 ช้อน/น้ำ 1 ปี๊บถ้าเกิดจากเชื้อ Alternaria ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน ใช้
เทนเอ็ม 30 กรัม + โพลี่อ๊อกซิน 60 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ
2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว+
( Downy mildew ) เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน
3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น
( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. +
โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้
4. โรคปลายใบแห้ง - เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ใบจะเป็นสีน้ำตาลฉ่ำน้ำต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลจะ
( Leaf blight ) เป็นที่ใบอ่อน ๆ ก่อนป้องกันโดยใช้ นูริช 40-50 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ
5. โรคไส้ดำ - เกิดจากการขาดธาตุ โบรอน (B) อาการที่สังเกตได้คือ ต้นจะเหี่ยวเฉา รากจะผุเปราะเมื่อ
( Black rot ) ผ่าดูในส่วนกลางของราก จะมีสีดำและกลวง ป้องกันโดยใช้ นูริช 30 ซีซี. / น้ำ 1 ปี๊บ

ความคุ้มค่าของการลงทุน
ต้นทุนการผลิต/ไร่ = 4,500 บาท
ผลผลิต/ไร่ 7 ตัน
ราคา/ก.ก. = 3 บาท = 7,000 x 3 = 21,000 บาท
ผลกำไร = 4,500 – 21,000 = 16,500 บาท

ตารางการปฏิบัติงาน
วันหลังย้ายกล้า
การปฏิบัติงาน

เตรียมแปลงและหลุมปลูก

เพาะเมล็ดและรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
5
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง (เทนเอม 20 กรัม + สเปโต 20 ซีซี + น็อคโดน์ 20 ซีซี + เบสมอร์ 10 ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร
7
รดปุ๋ย (สูตร 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1 50 กรัม + อโทนิค 5 ซีซี+มามิโกร 30 ซีซี+ออร์กามิน 20 ซีซี.) ต่อน้ำ 20 ลิตร
13
กำจัดวัชพืช พรวนดิน
15
พ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคและแมลง
(เทนเอม 20 กรัม + ซูมิไซดิน 5 ซีซี.+สกาย 15 กรัม + เบสมอ 10 ซีซี.) / น้ำ 20 ลิตร
14
รดปุ๋ย (สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม + อโทนิค 5 ซีซี + มามิโกร 30 ซีซี + ออร์กามิน 20
ซีซี.) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15+21-0-0 อัตรา 1:1 ระหว่างต้น 5 กรัม/ต้นให้น้ำตามร่อง
20
กำจัดวัชพืชและ พรวนดิน
21
ให้น้ำตามร่อง
22
พ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคและแมลง
(บาวีซาน 15 กรัม สเปโต 20 ซีซี. น็อคไดน์ 30 ซีซี. เบสมอร์ 10 ซีซี.) / น้ำ 20 ลิตร
23
ฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 21-0-0 อัตรา 1:1
28
กำจัดวัชพืช, พรวนดิน, ฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15 และให้น้ำตามร่อง
35-40
เก็บผลผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น